ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ นาค ”             ผลการค้นหาพบ  16  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 16
โกนาคมน์ พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต
       ดู พระพุทธเจ้า ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 16
เทวรูปนาคปรก เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 16
เทสนาคามินี อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้,
       อาบัติที่ปลงตกด้วยการแสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่
           อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต;
       ตรงข้ามกับ อเทสนาคามินี ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส;
       เทียบ วุฏฐานคามินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 16
นาค งูใหญ่ในนิยาย; ช้าง; ผู้ประเสริฐ;
       ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 16
นาคเสน พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์;
       ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 16
นาคาวโลก การเหลียวมองอย่างพญาช้าง,
       มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือ เหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด เป็นกิริยาของพระพุทธเจ้า;
       เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 16
นาคิตะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์
       มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับเนกขัมมสุข ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 16
พระนาคปรก พระพุทธรูปปางหนึ่งมีรูปนาคแผ่พังพานอยู่ข้างบน;
       ดู มุจจลินท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 16
สังคายนา “การสวดพร้อมกัน”, การร้อยกรองพระธรรมวินัย, การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว;
       สังคายนา ครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้:
       ครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารภที่จะทำให้ธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
           โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ นอกธรรม นอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูปพระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อ พ.ศ ๑๐๐
           โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ (พ.ศ. ๒๑๘ เป็นปีที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์)
           โดยพระเจ้าอโศก หรือ ศรีธรรมาโศกราชเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖
           โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ
       ครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี)
           โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมก์;
           บางคัมภีร์ว่า สังคายนาครั้งนี้จัดขึ้นในความคุ้มครองของคนที่เป็นใหญ่ในท้องถิ่น
       (ครั้งที่ ๔ ได้รับความยอมรับในแง่เหตุการณ์น้อยกว่าครั้งที่ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 16
อตีตานาคตังสญาณ ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงเรื่องที่ล่วงมาแล้ว และเรื่องที่ยังไม่มาถึง,
       ญาณหยั่งรู้ทั้งอดีตและอนาคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 16
อนาคต ยังไม่มาถึง, เรื่องที่ยังไม่มาถึง, เวลาที่ยังไม่มาถึง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 16
อนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้า อันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 16
อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ คือ กามราคะ และปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรค อันทำให้เป็นพระอนาคามี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 16
อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอนาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕
       (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 16
อนาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ
       ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน)
       ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ
       ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
       ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก
       ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 16
อนาคาริยวินัย วินัยของอนาคาริก; ดู วินัย ๒


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นาค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B9%D2%A4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]