ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ยศ ”             ผลการค้นหาพบ  9  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 9
เกียรติยศ ยศคือเกียรติ หรือกิตติคุณ, ความเป็นใหญ่โดยเกียรติ;
       ดู ยศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 9
ทรยศ คิดร้ายต่อมิตรผู้มีบุญคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 9
ปริวารยศ ยศคือ(ความมี)บริวาร, ความเป็นใหญ่โดยบริวาร;
       ดู ยศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 9
พระยศ ดู ยส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 9
ภัททิยะ
       1. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก
       2. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

ภัททิยศากยะ ดู ภัททิยะ 2

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 9
ยศ ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ;
       ในภาษาไทย มักได้ยินว่า เกียรติยศ ซึ่งบางครั้งมาคู่กับ อิสริยยศ และอาจจะมี ปริวารยศ หรือ บริวารยศ มาเข้าชุด รวมเป็น ยศ ๓ ประเภท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 9
ยศกากัณฑกบุตร พระเถระองค์สำคัญ ผู้ชักชวนให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี;
       เดิมชื่อยศ เป็นบุตรกากัณฑกพราหมณ์;
       ดู สังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 9
อัปยศ ปราศจากยศ, เสียชื่อเสียง, เสื่อมเสีย, น่าขายหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 9
อิสริยยศ ยศคือความเป็นใหญ่, ความเป็นใหญ่โดยตำแหน่ง ฐานันดร เป็นต้น;
       ดู ยศ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยศ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%C8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]