บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) การค้นหาคำว่า เมตตา ผลการค้นหาพบ 36 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ) ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา) ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
เช่น พ่อแม่ มีกำลังพอที่จะเลี้ยงดูลูกได้ ก็ไม่เลี้ยงดูลูกให้สมควรแก่สถานะ เป็นต้น, ไม่เอื้อเฟื้อแก่ใคร
การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่า การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่า การละกิเลสได้ชั่วคราว)
หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ ดู วิมุตติ
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดามารดา : บุตรธิดา พึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้ ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ ๒. ช่วยทำกิจของท่าน ๓. ดำรงวงศ์สกุล ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน; มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร ๒. ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ ๒. เข้าไปหา ๓. ใฝ่ใจเรียน ๔. ปรนนิบัติ ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ; ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ดังนี้ ๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศ คือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้ ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา : สามีพึงบำรุงภรรยาดังนี้ ๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา ๒. ไม่ดูหมิ่น ๓. ไม่นอกใจ ๔. มอบความเป็นใหญ่ ในงานบ้านให้ ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส; ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้ ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้ง ๒ ฝ่ายด้วยดี ๓. ไม่นอกใจ ๔. รักษาสมบัติที่หามาได้ ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน ๒. พูดจามีน้ำใจ ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๔. มีตนเสมอ ๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน; มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบดังนี้ ๑. เมื่อเพื่อประมาทช่วยรักษาป้องกัน ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร ๕. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน : นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ดังนี้ ๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่ ๓. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันสมควร; คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นายดังนี้ ๑. เริ่มทำงานก่อน ๒. เลิกงานทีหลัง ๓. เอาแต่ของที่นายให้ ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่ ๖. อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์: คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ ๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา ๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔; พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ
(ข้อ ๒ ในจริต ๖)
มี ๑๐ คือทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้ ๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ ๒. ทาน ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕. อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ; เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก
เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติ ปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
คำที่พูดด้วยความรักความปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี (ข้อ ๒ ในสังคหวัตถุ ๔)
คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด. ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ ๑. หลับก็เป็นสุข ๒. ตื่นก็เป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาย่อมรักษา ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัตราวุธ ๘. จิตเป็นสมาธิง่าย ๙. สีหน้าผ่องใส ๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ในอกุศลวิตก ๓)
ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้ ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้ บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดีงาม กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ ๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา ๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่น เป็นที่พึงอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากย์วิจารณ์ ๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตากรุณา (จิตตภาวนา) และ ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง (ปัญญาภาวนา) ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)
สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน
ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒. อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓. มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย 2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1. ด้วย
(ข้อ ๙ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๒ ในอารักขกรรมฐาน ๔); ดู แผ่เมตตา
(ข้อแรกในเบญจธรรม)
๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา) ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่นๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน
กาเมสุ วีตราโค (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย) มีศิษย์จำนวนมาก ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ ชรา มรณะ เพราะไม่รู้อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ
ได้ไปร่วมงานฉลองวัดเชตวันของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใสบวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาเจริญวิปัสสนา ทำเมตตาฌานให้เป็นบาทได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะ ๒ ทาง คือ ในทางอรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และ เป็นทักขิไณยบุคคล
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสน หรือขาดความ ๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓. สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น
ได้แก่ เมตตา (ข้อ ๒ ในกุศลมูล ๓)
(ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ
(ข้อ ๙ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น ปรารถนาให้เขามีความสุข (ข้อ ๒ ในกุศลวิตก ๓)
หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวาง สม่ำเสมอกัน ไม่จำกัดขอบเขต มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น; ดู พรหมวิหาร
กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์ เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงไว้ มี ๔ อย่างคือ ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์ และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตต์ คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า ๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม ๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรมดา |
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เมตตา&detail=on
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E0%C1%B5%B5%D2&detail=on
บันทึก ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]