ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ
       ๓ ประการ ได้แก่
           ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
           ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
           ๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน
       (คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆ ว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)
       ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,
       ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
       (ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);
       ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
       พึงทราบว่า พระบาลีในพระไตรปิฎก เรียกว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ส่วน ไตรลักษณ์ และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรลักษณ์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E4%B5%C3%C5%D1%A1%C9%B3%EC

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]