ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ไสยา ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
ประทมอนุฏฐานไสยา นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
มหาสุบิน ความฝันอันยิ่งใหญ่,
       ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
       (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖)
       ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ใจความว่า
       ๑. เสด็จบรรทมโดยมีมหาปฐพีนี้เป็นพระแท่นไสยาสน์ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหลั่งลงในมหาสมุทรด้านบูรพทิศ พระหัตถ์ขวาเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศ พระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ
           (ข้อนี้เป็นบุพนิมิต หมายถึง การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า)
       ๒. มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์ สูงขึ้นจดท้องฟ้า
           (หมายถึงการที่ได้ตรัสรู้อารยอัษฎางคิกมรรคแล้ว ทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์และหมู่เทพ)
       ๓. หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำ พากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล
           (หมายถึง การที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมายพากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)
       ๔. นกทั้งหลาย ๔ จำพวกมีสีต่างๆ กัน บินมาแต่ทิศทั้งสี่ แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น
           (หมายถึงการที่ชนทั้งสี่วรรณะมาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)
       ๕. เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขา คูถลูกใหญ่ แต่ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ
           (หมายถึงการทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม แต่ไม่ทรงลุ่มหลงติดพัน ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งเป็นอิสระ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
สีหไสยา นอนอย่างราชสีห์
       คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้
       (มีคำอธิบายเพิ่มอีกว่า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาซ้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
ไสยา การนอน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
ไสยาวสาน การนอนครั้งสุดท้าย, การนอนครั้งที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
อนุฏฐานไสยา “การนอนที่ไม่มีการลุกขึ้น”, การนอนครั้งสุดท้าย
       โดยทั่วไปหมายถึง การบรรทมครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ในคราวเสด็จดับขันธปรินิพพาน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไสยา&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E4%CA%C2%D2&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]