ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. ภูตคามวรรค
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๑๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปอยู่บนกุฎีชั้นลอย๑- ใน วิหารของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง อีกรูปหนึ่งอยู่ชั้นบน รูปที่อยู่ชั้นบนนั่งอย่างแรงบน เตียงชนิดที่มีเท้าเสียบ(ไม่มีลิ่มสลัก) เท้าเตียงตกโดนศีรษะรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจนท่าน ร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปหาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน ท่านส่งเสียงทำไม” ภิกษุรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนั่ง อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย ตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนั่ง อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งอย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ กุฎีชั้นลอย คือกุฎีมีพื้น ๒ ชั้นหรือ ๓ ชั้น แต่มิได้ปูพื้นชั้นบน รอดที่คานสูงพอพ้นศีรษะ @(วิ.อ. ๒/๑๒๙-๑๓๑/๓๐๙-๓๑๐), ภิกษุเอาเตียงซึ่งมิได้ใส่เดือยสลักเท้าเตียงวางพาด เมื่อนั่งอย่างแรง @เท้าเตียงจึงหลุดใส่ศีรษะภิกษุที่อยู่ชั้นล่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๑๓๐] ก็ ภิกษุใดนั่ง หรือนอนบนเตียง หรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบ บนกุฎี ชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์ ที่ชื่อว่า กุฎีชั้นลอย ได้แก่ กุฎีชั้นลอยสูงจนศีรษะบุรุษกลางคนไม่กระทบ เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวเตียง ตั่งที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวตั่ง คำว่า นั่ง คือ ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า นอน คือ ภิกษุนอนบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๓๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือบนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎี ชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท อนาปัตติวาร

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๓๓] ๑. ภิกษุนั่งบนที่ที่ไม่ใช่กุฎีชั้นลอย ๒. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยสูงพอกระทบศีรษะ ๓. ภิกษุนั่งบนที่ที่ข้างล่างไม่เป็นที่อยู่ ๔. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยปูพื้นไว้ ๕. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยมีเท้าเตียงหรือเท้าตั่งตรึงสลักกับตัว ๖. ภิกษุยืนบนเตียงหรือตั่งหยิบหรือพาดจีวรได้ ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
เวหาสกุฏิสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=2&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=2&A=9092&Z=9145                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=392              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=392&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7282              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=392&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7282                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc18/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :