ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒
เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๒๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปกรุง สาวัตถี แคว้นโกศล ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติอนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนได้กล่าวกับ ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร” ภิกษุรูปนั้นแค้นเคืองภิกษุผู้เป็นเพื่อนนั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถี ครั้ง นั้น มีสังฆภัตของสมาคมหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุรูปที่แค้นเคืองไปตระกูลญาตินำบิณฑบาตมา แล้วเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเพื่อนถึง ที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “เชิญท่านฉันเถิด ขอรับ” ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า “ไม่ล่ะขอรับ กระผมบริบูรณ์แล้ว” ภิกษุผู้แค้นเคืองนั้นรบเร้าว่า “บิณฑบาตอร่อย ฉันเถิด ขอรับ” ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกรบเร้าจึงฉันบิณฑบาตนั้น ภิกษุผู้แค้นเคืองได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านเข้าใจว่ากระผมเป็นผู้ที่ควร ว่ากล่าว ท่านเองฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วก็ยังฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดนอีก” ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกล่าวว่า “ท่านควรบอกเรื่องนี้มิใช่หรือ” ภิกษุผู้แค้นเคืองกล่าวว่า “ท่านควรถามก่อนมิใช่หรือ” ต่อมา ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุ นั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำโภชนะที่ไม่เป็น เดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่าง นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๔๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ แต่ต้องการจะจับผิด นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ ไม่เป็นเดนไปปวารณา ภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว โดยกล่าว รบเร้าว่า “นิมนต์เถิดขอรับ ท่านจงเคี้ยวหรือจงฉันก็ได้” เมื่อเธอฉันแล้ว ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุรูปอื่น ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดแม้ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ๑-
ลักษณะห้ามภัตร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม
ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของที่ภิกษุ ยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอกหัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ลงมือฉัน (๖) ของที่ภิกษุลงมือฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน
ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ คำว่า นำมาปวารณา คือ นำมาปวารณาว่า “ท่านโปรดรับตามต้องการ” ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกท่าน หรือคนนั้นบอก @เชิงอรรถ : @ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ คือเกลี่ยอาหารที่ได้มาในภาชนะใบเดียวกันคลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นรส @เดียวกันแล้วเอาปลายหญ้าคาแตะเพียงหยดเดียวแล้ววางที่ปลายลิ้น กลืนกิน (วิ.อ. ๒/๒๖๐/๓๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ต้องการจะจับผิด คือ ภิกษุเพ่งเล็งว่า เราจะท้วง เราจะเตือน เราจะทักท้วง เราจะตักเตือน เราจะทำภิกษุนี้ให้เก้อเขินด้วยวิธีนี้ นำไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๒๔๕] บอกห้ามภัตตาหารแล้วภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว นำ ของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไป ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้บอกห้ามภัตตาหารนำของ เคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไปเป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ไม่ต้อง อาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๔๖] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วให้ ๒. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน ๓. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงนำไปเพื่อภิกษุอื่น ๔. ภิกษุให้ภัตตาหารที่เหลือของภิกษุเป็นไข้ ๕. ภิกษุให้ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยกล่าวว่า ท่านจงฉันเมื่อมีเหตุสมควร ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=2&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=2&A=10790&Z=10872                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=504              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=504&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8693              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=504&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8693                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc36/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :