ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายนอกรัฐ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มีกอง เกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ พวกนักเลง ข่มขืน(ภิกษุณีเหล่านั้น) บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มี ภัยน่ากลัวภายนอกรัฐเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มี กองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๖๖] ก็ภิกษุณีใดเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่า น่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร

สิกขาบทวิภังค์
[๙๖๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ภายนอกรัฐ คือ ในรัฐของฝ่ายอื่นนอกจากรัฐที่ตนอาศัยอยู่ ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏ ที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีคนทั้งหลายถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีคนถูกปล้น ปรากฏมีคนถูกทุบตี ที่ชื่อว่า ไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นกองเกวียน คำว่า เที่ยวจาริกไป คือ เที่ยวจาริกไปในหมู่บ้านมีกำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกหมู่บ้าน เที่ยวจาริกไปในป่าไม่มีหมู่บ้าน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ กึ่งโยชน์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๖๘] ๑. ภิกษุณีไปกับกองเกวียน ๒. ภิกษุณีไปในสถานที่ปลอดภัย ไม่มีภัยน่ากลัว ๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=3&siri=66              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=3&A=3958&Z=3995                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=286              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=286&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=286&items=3                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.286 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc38/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc38/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :