ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๗. ปณามิตกถา
ว่าด้วยการประณาม
[๖๘] สมัยนั้น พวกสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกสัทธิวิหาริกจึงได้ไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติ ชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จริงหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๗. ปณามิตกถา

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ไฉน พวกสัทธิวิหาริก จึงไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกจะไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ ไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงอนุญาตให้ประณาม
สัทธิวิหาริกทั้งหลายก็ยังไม่ประพฤติชอบอยู่เช่นเดิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประณามสัทธิวิหาริก ผู้ไม่ประพฤติชอบ
วิธีประณาม
ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปัชฌาย์พึงประณามสัทธิวิหาริกอย่างนี้ว่า “ฉันประณาม เธอ” หรือ “เธออย่าเข้ามาที่นี้” “เธอจงขนบาตรและจีวรของเธอไป” หรือ “เธอไม่ ต้องอุปัฏฐากฉัน” อุปัชฌาย์ให้สัทธิวิหาริกรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้ด้วยกายและวาจา เป็นอันได้ประณามสัทธิวิหาริกแล้ว อุปัชฌาย์ไม่ให้สัทธิวิหาริกรู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา เป็นอันยังมิได้ประณามสัทธิวิหาริก
สัทธิวิหาริกไม่ขอขมา
สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายถูกประณามแล้ว ก็ยังไม่ยอมขอขมาอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สัทธิวิหาริกขอขมา อุปัชฌาย์” สัทธิวิหาริกทั้งหลาย ก็ยังไม่ยอมขอขมาอุปัชฌาย์อยู่เช่นเดิม ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๗. ปณามิตกถา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกถูกประณามแล้ว จะไม่ ขอขมาอุปัชฌาย์ไม่ได้ รูปใดไม่ขอขมา ต้องอาบัติทุกกฏ”
อุปัชฌาย์ไม่รับการขอขมา
สมัยนั้น อุปัชฌาย์ทั้งหลายถูกสัทธิวิหาริกขอขมา ก็ยังไม่ยอมให้ขมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปัชฌาย์รับการ ขอขมา” อุปัชฌาย์ทั้งหลายก็ยังไม่ยอมให้ขมาอยู่เช่นเดิม พวกสัทธิวิหาริกพากันหลีก ไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ผู้ที่สัทธิวิหาริกขอขมา จะไม่รับการขอขมาไม่ได้ รูปใดไม่รับการขอขมา ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทรงปรับทุกกฏเมื่อประณามไม่ถูกต้อง
สมัยนั้น อุปัชฌาย์ทั้งหลายประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณาม สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ อุปัชฌาย์ไม่พึงประณาม รูปใดประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริก ผู้ไม่ประพฤติชอบ อุปัชฌาย์จะไม่ประณามไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ”
องค์แห่งการประณาม
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. ไม่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๗. ปณามิตกถา

๓. ไม่มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. ไม่มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. ไม่มีความหวังดี๑- อย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๓. มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรที่จะถูกประณาม คือ ๑. ไม่มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. ไม่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๓. ไม่มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. ไม่มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. ไม่มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ควรที่จะถูกประณาม ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรที่จะถูกประณาม คือ ๑. มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ @เชิงอรรถ : @ ภาวนา ความหวังดีในที่นี้หมายถึง เมตตาภาวนา (วิ.อ. ๓/๖๘/๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๑๗. ปณามิตกถา

๓. มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ไม่ควรที่ จะถูกประณาม ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อประณาม ย่อมไม่มีโทษ คือ ๑. ไม่มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. ไม่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๓. ไม่มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. ไม่มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. ไม่มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อประณาม ย่อมไม่มีโทษ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่ออุปัชฌาย์ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อไม่ประณาม ย่อมไม่มีโทษ คือ ๑. มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๓. มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๔. มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ๕. มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ เมื่ออุปัชฌาย์ ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อไม่ประณาม ย่อมไม่มีโทษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๙๒-๙๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=4&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=4&A=1777&Z=1865                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=83              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=83&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=868              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=83&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=868                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic27 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:27.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.26.12



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :