ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๔๑. ปวารณาฐปนะ
ว่าด้วยการงดปวารณา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา
[๒๓๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวปวารณา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัว ไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดมีอาบัติติดตัวปวารณา เราอนุญาตให้ขอโอกาสแล้วโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๗๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

เรื่องไม่ยอมให้โอกาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกสงฆ์ขอโอกาสก็ไม่ปรารถนาจะให้โอกาส ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาแก่ภิกษุ ผู้ไม่ยอมให้โอกาส”
วิธีงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้ ในวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อภิกษุนั้นอยู่พร้อมหน้า ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าของดปวารณาของภิกษุนั้นเสีย เมื่อภิกษุนั้นยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา เท่านี้ เป็นอันได้งดปวารณาแล้ว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์งดปวารณาของภิกษุบริสุทธิ์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงด ปวารณาแก่พวกเราก่อน” จึงชิงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะ เรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควรเสียก่อน ทั้งงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่ ปวารณาเสร็จแล้วด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเพราะเรื่องอันไม่ควร เพราะเหตุอันไม่ควร รูปใดงด ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายที่ปวารณาเสร็จแล้ว รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้ ไม่เป็นอันงดอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๗๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา ออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๓ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา ๒ หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา ออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้แล
เรื่องงดปวารณาของภิกษุ
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของ ภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกาย ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๗๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เมื่อถูก ซักถาม สามารถตอบข้อซักถามได้” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านงดปวารณา ของภิกษุนี้ทำไม งดเพราะเรื่องอะไร งดเพราะสีลวิบัติ หรืองดเพราะอาจารวิบัติ หรือ งดเพราะทิฏฐิวิบัติ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมงดเพราะสีลวิบัติบ้าง งดเพราะอาจารวิบัติบ้าง งดเพราะทิฏฐิวิบัติบ้าง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “คุณรู้สีลวิบัติหรือ รู้อาจารวิบัติหรือ รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ก็สีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจารวิบัติเป็น อย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าสีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงด ปวารณาของภิกษุนี้ทำไม งดด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ยินหรือ งดด้วยนึกสงสัยหรือ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “งดด้วยได้เห็นบ้าง งดด้วยได้ยินบ้าง งดด้วยนึก สงสัยบ้าง” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น อย่างใด ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นว่าอย่างไร ท่านเห็นเมื่อไร ท่านเห็นที่ไหน ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านเห็นหรือ ภิกษุนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต ท่านเห็นหรือ ท่านอยู่ที่ไหน ภิกษุนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไร ภิกษุนี้ทำอะไร” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ ด้วยได้เห็นดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยได้ยินต่างหาก” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ยิน อย่างใด ท่านได้ยินอะไร ท่านได้ยินว่าอย่างไร ท่านได้ยินเมื่อไร ท่านได้ยินที่ไหน ท่านได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ได้ยินจากภิกษุหรือ ได้ยินจากภิกษุณีหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

ได้ยินจากสิกขมานาหรือ ได้ยินจากสามเณรหรือ ได้ยินจากสามเณรีหรือ ได้ยิน จากอุบาสกหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายหรือ ได้ยิน จากราชมหาอมาตย์ทั้งหลายหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ยินจากพวกสาวก เดียรถีย์หรือ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ ด้วยได้ยินดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยนึกสงสัยต่างหาก” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยนึก สงสัยอย่างใด ท่านนึกสงสัยอะไร ท่านนึกสงสัยว่าอย่างไร ท่านนึกสงสัยเมื่อไร ท่านนึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ นึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ นึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติ ปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ท่านได้ ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากภิกษุณีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสิก ขมานาแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสามเณรแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสาม เณรีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสกแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาแล้ว นึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากราชมหา อำมาตย์ทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยิน จากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ ด้วยนึกสงสัย อีกทั้งผมก็ไม่ทราบว่า ผมงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร”
ฟังคำปฏิญญาของโจทก์และจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจของเพื่อน พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๑. ปวารณาฐปนะ

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของเพื่อน พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านควรฟ้องภิกษุจำเลย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา๑- ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา๒- ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ ด้วยอาบัติถุลลัจจัยอันไม่มีมูล... ด้วยอาบัติปาจิตตีย์... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ... ด้วยอาบัติทุกกฏ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์พึงนาสนะเสีย๓- แล้วจึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับ อาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา @เชิงอรรถ : @ หมายถึง ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นยอมรับว่า ตนใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัตปาราชิกไม่มีมูล ในกรณีเช่นนี้สงฆ์ @ปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ด้วยสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙) @ หมายถึง พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใส่ความ (โจท) ภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ @ทุกกฏ เพราะใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือทุพภาสิต @ที่ไม่มีมูล (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙) @ นาสนะ ในที่นี้หมายถึง ให้สึกจากความเป็นภิกษุ (วิ.อ. ๓/๒๓๗/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ

๑๔๒. ถุลลัจจยวัตถุกาทิ
ว่าด้วยการต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น
เรื่องต้องอาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง ปวารณา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติทุกกฏ... บางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ทุพภาสิต ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย พึงนำภิกษุนั้นไป ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึง ปวารณา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์... ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ... ต้องอาบัติทุกกฏ... ต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุบางพวก มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ

ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์ พึงปวารณา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ถุลลัจจัย... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ปาจิตตีย์... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ... บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึงนำภิกษุนั้นไป ณ ที่อันควร ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย อาบัติที่ภิกษุนั้นต้อง ภิกษุนั้นได้ทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์ พึงปวารณา
๑๔๓. วัตถุฐปนาทิ
ว่าด้วยการงดวัตถุเป็นต้น
เรื่องวัตถุและบุคคลปรากฏ
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุนี้ปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุ แล้วปวารณาเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ

สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้ สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ถ้าวัตถุปรากฏ บุคคลไม่ปรากฏ ท่าน จงระบุ บุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม กลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงงดบุคคล แล้วปวารณาเถิด สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้ สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ถ้าบุคคลปรากฏ วัตถุไม่ปรากฏ ท่านจงระบุ วัตถุนั้นเดี๋ยวนี้เถิด ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุจะพึงประกาศ ณ ท่าม กลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทั้งวัตถุและบุคคลนี้ปรากฏ ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว สงฆ์พึงงดทั้งวัตถุและบุคคล แล้วปวารณาเถิด สงฆ์พึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปวารณาไว้ สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์และพร้อมเพรียงกัน ถ้าวัตถุและบุคคลปรากฏ ท่าน จงระบุวัตถุและบุคคลนั้นเดี๋ยวนี้เถิด ภิกษุทั้งหลาย ถ้าวัตถุปรากฏก่อนปวารณา บุคคลปรากฏภายหลัง ควร กล่าวขึ้น ถ้าบุคคลปรากฏก่อนปวารณา วัตถุปรากฏภายหลัง ก็ควรกล่าวขึ้น ถ้าทั้งวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าทำปวารณาเสร็จแล้ว รื้อฟื้นเรื่องขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะรื้อฟื้นเรื่องนั้น
๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ
ว่าด้วยการก่อความบาดหมาง
[๒๔๐] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเคยเห็นเคยคบกันมา เข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ

ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ ที่ใกล้ เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า “ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณาของ พวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย” ภิกษุเหล่านั้นได้ทราบข่าวว่า “ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณา ของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุหลายรูปเคยเห็น เคยคบกันมา เข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุเหล่าอื่นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ก็เข้าจำพรรษา ณ ที่ใกล้เคียงกับภิกษุเหล่านั้นด้วยประสงค์ว่า ในวันปวารณาพวกเราจักงด ปวารณาของพวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำ ๒ (และ) ๓ อุโบสถ ให้เป็นอุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ๑- ด้วยประสงค์ว่า ไฉนพวกเราพึงปวารณาก่อนภิกษุพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นพากันมาสู่อาวาสนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส เหล่านั้นพึงรีบประชุมปวารณากันโดยเร็ว ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พวกนั้นไม่แจ้งให้ทราบก่อน มาสู่อาวาสนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ @เชิงอรรถ : @ ๒ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓ และที่ ๔ @๓ อุโบสถ คือ อุโบสถที่ ๓, ที่ ๔ และที่ ๕ (วิ.อ. ๓/๒๔๐/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ

พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม ทำภิกษุพวกนั้นให้ตายใจแล้วไป ปวารณานอกสีมา ครั้นแล้วพึงบอกว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราปวารณาเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายสำคัญอย่างใด จงทำอย่างนั้นเถิด ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในกาฬปักษ์ ที่จะมาถึงเถิด ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน ปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์พวกนั้นจะพึงอยู่จนถึงกาฬปักษ์นั้นไซร้ ภิกษุที่อยู่ ในอาวาสผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายทราบว่า ขอภิกษุที่อยู่ในอาวาสทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว บัดนี้พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะ มาถึงเถิด ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้น จะพึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ดีละ ท่าน ทั้งหลาย ขอจงปวารณาต่อพวกเราในบัดนี้เถิด ภิกษุเหล่านั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ ใน ปวารณาของพวกเรา พวกเรายังไม่ปวารณาก่อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๔๔. ภัณฑนการกวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความ วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้นจะพึงอยู่จนถึงชุณหปักษ์แม้นั้นไซร้ ภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดไม่ประสงค์จะปวารณา ก็ต้องปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อันเป็นวันที่ครบ ๔ เดือน ที่จะมาถึงเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มี พระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้ ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้นถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืน โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด ปวารณาของภิกษุไข้ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวว่า ท่าน ภิกษุนี้กำลังเป็นไข้ อันผู้ เป็นไข้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่า ภิกษุนี้จะหายเป็นไข้ ท่านจำนงจึงค่อยโจทภิกษุผู้หายไข้แล้วนั้น ดังนี้ ถ้าภิกษุนั้น ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุไข้งดปวารณาของ ภิกษุไข้ ภิกษุไข้นั้นถูกว่ากล่าวว่า พวกท่านกำลังเป็นไข้ ภิกษุไข้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ไม่อดทนในการซักถาม ท่าน ขอท่านจงรอจนกว่าจะหายเป็นไข้ ท่านหายไข้แล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจทภิกษุนั้นผู้หายไข้แล้ว ดังนี้ ถ้าภิกษุไข้นั้น ถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืนโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้งด ปวารณาของภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ปรับอาบัติ ตามธรรม ปวารณาเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๗๗-๓๘๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=4&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=4&A=7131&Z=7370                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=245              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=245&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=245&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php#topic16 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali#pli-tv-kd4:16.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali#Kd.4.16



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :