ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๗. กฐินานุชานนา

๗. กฐินขันธกะ
๑๘๗. กฐินานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้กรานกฐิน
เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ๓๐ รูป
[๓๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ๑- จำนวน ๓๐ รูป ทั้งหมดถืออารัญญิกธุดงค์ ถือปิณฑปาติกธุดงค์และถือเตจีวริกธุดงค์ เดินทาง มากรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดิน ทางไปให้ทันวันเข้าพรรษาในกรุงสาวัตถีได้ จึงเข้าพรรษาในเมืองสาเกตระหว่างทาง ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเหล่านั้นมีใจรัญจวน อยู่จำพรรษาด้วยคิดว่า “พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ใกล้ๆ พวกเราห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้า พระองค์” ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว เมื่อปวารณาแล้ว ฝนยัง ตกชุกอยู่ พื้นแผ่นดินชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน พวกเธอมีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ เหน็ดเหนื่อย เดินทางเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสนทนาปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี @เชิงอรรถ : @ เมืองปาเฐยยะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกแคว้นโกศล คำว่า “ปาเฐยยกะ” เป็นชื่อของพระภัททวัคคีย์เถระ @ทั้งหลายซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับพระเจ้าโกศล ในบรรดาท่านเหล่านั้น ผู้เป็นพี่ใหญ่ เป็นพระอนาคามี @คนที่เป็นน้องสุดท้อง เป็นพระโสดาบัน ไม่มีใครเป็นพระอรหันต์หรือปุถุชน (วิ.อ. ๓/๓๐๖/๑๙๑) ว่า @“ปาเวยยกะ” ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๗. กฐินานุชานนา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่ลำบากหรือ” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ขอประทาน วโรกาส พวกข้าพระองค์ มีประมาณ ๓๐ รูป เป็นภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ เดินทาง มากรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดิน ทางมาให้ทันวันเข้าพรรษาในกรุงสาวัตถีได้ จึงจำพรรษาที่เมืองสาเกตระหว่างทาง พวกข้าพระองค์รัญจวนใจ อยู่จำพรรษาด้วยคิดว่า ‘พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้ๆ พวกเราห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์’ ครั้นล่วงไตรมาส พวกข้าพระองค์ออกพรรษาแล้ว เมื่อปวารณาแล้ว ฝนยังตกชุกอยู่ พื้นแผ่นดิน เต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ เหน็ดเหนื่อย เดินทางไกลมา พระพุทธเจ้าข้า”
เรื่องอานิสงส์กฐิน ๕ อย่าง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว กรานกฐิน๑- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ ๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ กรานกฐิน เป็นวิธีการตัดเย็บจีวร โดยขึงไม้กฐิน(ไม้สะดึง) แล้วเอาผ้าที่เย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้กฐิน @เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๗. กฐินานุชานนา

เรื่องวิธีกรานกฐินและญัตติทุติยกรรมวาจาสำหรับกรานกฐิน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๓๐๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ ผ้ากฐินนี้แก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง ผ้ากฐินนี้อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องกฐินไม่เป็นอันกราน
[๓๐๘] ภิกษุทั้งหลาย กฐินย่อมเป็นอันกรานอย่างนี้ ไม่เป็นอันกรานอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ก็กฐินย่อมไม่เป็นอันกรานอย่างไร กฐินย่อมไม่เป็นอันกราน อย่างนี้ คือ ๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด ๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า ๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า ๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า ๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า ๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า ๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม ๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๗. กฐินานุชานนา

๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต๑- ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ทำพินทุ๒- ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากสังฆาฏิ ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอุตตราสงค์ ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอันตรวาสก ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์๓- ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเพราะเว้นจากบุคคลกราน ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น ภิกษุทั้งหลาย กฐินชื่อว่าไม่เป็นอันภิกษุกรานอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ อนุวาต คือผ้าขอบจีวรทั้งด้านยาวทั้งด้านกว้าง (วิ.อ. ๓/๓๔๕/๒๑๗) @ ทำพินทุ คือการทำจุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเลือด ที่มุมจีวรด้วยสีเขียว @สีตมหรือสีดำคล้ำ เพื่อทำให้จีวรเสียหรือทำตำหนิ (วิ.อ. ๒/๓๖๘-๓๖๙/๔๑๐) @ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๖๘-๓๖๙/๔๙๑ @ จีวรมีขันธ์ ๕ คือจีวรที่ตัดเย็บปรากฏกระทง(ผ้าท่อนหนึ่งๆ มีลักษณะเหมือนกระทงนา มีรูปสี่เหลี่ยม)ใหญ่ @กระทงเล็ก โดยมีเส้นคั่นดุจคันนา ยืนระหว่างกระทงจีวร แบ่งเป็น ๕ กระทง @(ดู วิ.อ. ๓/๓๐๘/๑๙๗, ๓๔๕/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๘๗. กฐินานุชานนา

เรื่องกฐินเป็นอันกราน
[๓๐๙] ภิกษุทั้งหลาย กฐินย่อมเป็นอันกรานอย่างไร กฐินย่อมเป็นอันกรานอย่างนี้ คือ ๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่ ๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่ ๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า ๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล ๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ตกตามร้าน๑- ๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา ๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา ๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา ๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน ๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์ ๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำพินทุ ๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยสังฆาฏิ ๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยอุตตราสงค์ ๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยอันตรวาสก ๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ที่ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น ๑๖. กฐินเป็นอันกรานเพราะมีบุคคลกราน ๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น ภิกษุทั้งหลาย กฐินชื่อว่าเป็นอันกรานอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ผ้าที่ตกตามร้าน คือผ้าเก่าที่ตกอยู่ข้างประตูร้านตลาด ซึ่งมีผู้เก็บมาถวาย (วิ.อ. ๓/๓๐๙/๑๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=5&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=5&A=2648&Z=2746                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=95              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=95&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4277              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=95&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4277                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :