ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละ ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ ทิฏฐิบาปนั้นอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน ๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๗๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มี บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึก ภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุอริฏฐะผู้มี บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึกเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์แล้วสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น พรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วสึก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำนี้ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จึงสึกเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์ จงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป”
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๑
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่สละ ทิฏฐิบาปอีก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาป” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ

กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อ นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูป นั้นพึงทักท้วง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ ๗ จบ
กัมมขันธกะที่ ๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๗ เรื่อง


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๔๔-๑๕๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=6&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=6&A=3322&Z=3530                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=303&items=16              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=303&items=16                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:33.1.35.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.33.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :