ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑-
[๑๙๒] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว อาหารก็ชั้นเลวตกถึงท่านทั้งสอง ชาวกรุงราชคฤห์ต้องการ จะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงอ่อมบ้าง ที่จัดปรุงพิเศษ แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะตาม แต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง วันหนึ่ง ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เที่ยวถามภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายว่า “มีอาหารอะไรบ้าง ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน” พระเถระบางพวกตอบว่า “คุณทั้งสอง พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงอ่อม” พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวว่า “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่ อาหารธรรมดา ตามแต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง” สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ ๔ ที่ เป็นนิตยภัต คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาสอยู่ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ถามถึง ความต้องการข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถาม ถึงความต้องการแกงอ่อม @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๓/๔๑๕-๔๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๓}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

วันต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสกะนิมนต์พระเมตติยะและพระ ภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกันนั้น คหบดีเดินทางไป อารามด้วยธุระบางอย่าง ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระทัพพมัลลบุตรชี้แจง คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว คหบดีผู้ชอบถวาย อาหารอย่างดีถามว่า “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า ท่านนิมนต์ ภิกษุรูปไหนไปฉันขอรับ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะไป ฉัน” เขาไม่พอใจว่า “ทำไมจึงนิมนต์ภิกษุชั่วไปฉันภัตตาหารในบ้านเราเล่า” กลับไป บ้านแล้วสั่งหญิงรับใช้ว่า “แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอา ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ” หญิงรับใช้รับคำว่า “ได้เจ้าค่ะ” วันเดียวกันนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวกันว่า “คุณ เมื่อวานนี้ เราได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในเรือนคหบดี พรุ่งนี้ คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี พร้อมด้วยบุตรภรรยา ก็จักมายืนอังคาสเราอยู่ใกล้ๆ คนอื่นถามถึงความต้องการ ข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถามถึงความ ต้องการแกงอ่อม” เพราะความดีใจนั้น พอตกกลางคืน ท่านทั้งสองจึงจำวัดหลับไม่ เต็มที่ ครั้นเวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเดินไปถึงนิเวศน์ของคหบดี หญิงรับใช้มองเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะเดินมาแต่ไกล จึงจัดอาสนะไว้ ที่ซุ้มประตูกล่าวนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์นั่งเถิด เจ้าค่ะ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า “เขาคงนิมนต์ให้พวกเรานั่งรอที่ซุ้มประตู จนกว่าภัตตาหารจะเสร็จ” ขณะนั้นหญิงรับใช้นำปลายข้าวกับน้ำผักดองไปถวายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๔}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

ท่านทั้งสองกล่าวว่า “น้องหญิง พวกอาตมารับนิมนต์มาฉันนิตยภัต” หญิงรับใช้ตอบว่า “ทราบเจ้าค่ะว่าท่านเป็นพระรับนิมนต์มาฉันนิตยภัต แต่เมื่อ วานนี้ คหบดีสั่งไว้ว่า ‘แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอาปลาย ข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ’ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะปรึกษากันว่า “เมื่อวานนี้เอง คหบดีผู้ชอบถวาย อาหารอย่างดีไปหาพระทัพพมัลลบุตรถึงอาราม สงสัยพวกเราคงถูกพระทัพพมัลล บุตรทำลายต่อหน้าคหบดีเป็นแน่” เพราะความเสียใจ ท่านทั้งสองจึงฉันภัตตาหาร ไม่ได้สมใจ ครั้นกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว ถึงอาราม เก็บบาตรและ จีวรแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิรัดเข่า นั่งภายนอกซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา
ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ครั้งนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้น ถึงแล้วได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ” เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น พระเมตติยะและภุมมชกะก็ไม่พูดด้วย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีเมตติยากล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ดิฉัน ไหว้ เจ้าค่ะ” แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย ภิกษุณีเมตติยากล่าวต่อไปว่า “ดิฉันทำผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม พระ คุณเจ้าจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน” ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเราถูกพระทัพพมัลล- บุตรเบียดเบียน เธอยังเพิกเฉยอยู่ได้” ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “ดิฉันจะช่วยได้อย่างไร เจ้าค่ะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๕}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

ภิกษุทั้งสองตอบว่า “ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้พระ ทัพพมัลลบุตรสึก” ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน” ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด น้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้ ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็ กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคยมีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับ มีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน” ภิกษุณีเมตติยารับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่ เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ที่ที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคย มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำ ร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๑๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณี นี่กล่าวหา” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรง ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า “พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๖}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้า เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระ- พุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก จงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้ว เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก แต่พระเมตติยะและ พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเลย นางไม่มีความผิด พวกกระผมโกรธ ไม่พอใจ ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้นจาก พรหมจรรย์ จึงชักจูงนาง” ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลหรือ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ เมตติยะและภิกษุภุมมชกะใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง สติแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๗}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๒. สติวินัย

วิธีให้สติวินัยและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ เหล่านี้ ใส่ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ใส่ ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัย กับสงฆ์” ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๙๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ เหล่านี้ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพ- มัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่าน พระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ เมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๘}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สติวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การให้สติวินัยที่ชอบธรรม ๕ อย่าง
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้ คือ ๑. ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ผู้อื่นโจทภิกษุนั้น ๓. ภิกษุนั้นขอ ๔. สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้แล
สติวินัย จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=6&siri=48              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=6&A=8018&Z=8163                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=594              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=594&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=594&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:4.5.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.4.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :