ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๘. อธิกรณะ
ว่าด้วยอธิกรณ์ ๔ อย่าง
เรื่องภิกษุและภิกษุณีวิวาทกัน
[๒๑๕] สมัยนั้น พวกภิกษุวิวาทกับพวกภิกษุณีบ้าง พวกภิกษุณีวิวาทกับ พวกภิกษุบ้าง ฝ่ายพระฉันนะเข้าข้างพวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุ ให้ไปเข้าข้างภิกษุณี บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระฉันนะจึงได้เข้าข้างพวกภิกษุณี แล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไป เข้าข้างภิกษุณีเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะเข้าข้าง พวกภิกษุณีแล้ววิวาทกับพวกภิกษุชักชวนพวกภิกษุให้ไปเข้าข้างภิกษุณี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๐}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์มี ๔ นี้ คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
๑. วิวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น วิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย ๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ ๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๕. นี้ตถาคตบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ ๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก ๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ การด่าทอในเรื่องนั้นใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์
๒. อนุวาทาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๑}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติ- กรรม (๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ
มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[๒๑๖] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง วิวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
วิวาทมูล ๖ ๑-
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ วิ.ป. ๘/๒๗๒/๒๐๗, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๒}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใด เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม ก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล แห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่ พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น บาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ ๒. เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ ๓. เป็นผู้มีปกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๓}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ สิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป เพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล เหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลาย ไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น บาปนั้นแล การละมูลแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ มูลแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
อกุศลมูล ๓
อกุศลมูล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีจิตโลภ วิวาทกัน มีจิตโกรธ วิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย ๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ ๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๔}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

๕. นี้ตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ๖. นี้อาบัติ นี้อนาบัติ ๗. นี้อาบัติเบา นี้อาบัติหนัก ๘. นี้อาบัติมีส่วนเหลือ นี้อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ อกุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
กุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีจิตไม่โลภวิวาทกัน มีจิตไม่ โกรธวิวาทกัน มีจิตไม่หลงวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ฯลฯ ๙. นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ กุศลมูล ๓ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
มูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
[๒๑๗] อะไรเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ อนุวาทมูล ๖ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ แม้กายก็เป็นมูลแห่ง อนุวาทาธิกรณ์ แม้วาจาก็เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
อนุวาทมูล ๖
มูลแห่งการโจท ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุที่มัก โกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้นไม่มีเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๕}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

เคารพ ไมมีความยำเกรง ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ สงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม ยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือ ภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปภายใน หรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทย์เช่นนี้ ภายใน หรือภายนอก ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่ง การโจทย์ที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอาการ อย่างนี้ เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ เป็นผู้มีปรกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ ศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื่อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื่อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๖}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ภายใน หรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาป ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยือเยื้อแห่งมูลเหตุ แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ มูลแห่งการโจทกัน ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
อกุศลมูล ๓
อกุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมมีจิตโลภโจท ย่อมมีจิต โกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
กุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓ อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีจิตไม่โลภโจท ย่อมมี จิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจท ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ อาชีววิบัติ กุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
กาย
อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มี อาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น ด้วยกายใด กายนี้เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๗}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๘. อธิกรณะ

วาจา
อนึ่ง วาจาเป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูปเป็นคนพูดไม่ดี พูดไม่ชัด พูดระราน ภิกษุทั้งหลายย่อม โจทภิกษุนั้นด้วยวาจาใด วาจานี้เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์
มูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
[๒๑๘] อะไรเป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ คือ ๑. อาบัติเกิดทางกาย ไม่ใช่ทางวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี ๒. อาบัติเกิดทางวาจา ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ทางจิตก็มี ๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา ไม่ใช่ทางจิตก็มี ๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต ไม่ใช่ทางวาจาก็มี ๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต ไม่ใช่ทางกายก็มี ๖. อาบัติเกิดทางกาย วาจา กับจิตก็มี สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์
มูลแห่งกิจจาธิกรณ์
[๒๑๙] อะไรเป็นมูลแห่งกิจจาธิกรณ์ สงฆ์เป็นมูลเดียวแห่งกิจจาธิกรณ์


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=6&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=6&A=8775&Z=8947                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=632              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=632&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=632&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:14.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.13.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :