ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องการเปลือยกาย
[๒๖๑] สมัยนั้น พวกภิกษุเปลือยกายไหว้ภิกษุเปลือยกาย๑- พวกภิกษุเปลือย กายไหว้ภิกษุไม่เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุเปลือยกายไหว้ตน พวก @เชิงอรรถ : @ นคฺคา : เปลือยกาย ในที่นี้หมายถึงการเปลือยกายอย่างพวกอาชีวก ไม่มีผ้าติดกายเลย @(ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๑๗/๔๑-๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุไม่เปลือยกายไหว้ตน พวกภิกษุเปลือยกายบีบนวดภิกษุ เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายใช้ภิกษุเปลือยกายบีบนวด พวกภิกษุเปลือยกายให้ ของแก่ภิกษุเปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายรับประเคน พวกภิกษุเปลือยกายเคี้ยว พวกภิกษุเปลือยกายฉัน พวกภิกษุเปลือยกายลิ้มรส พวกภิกษุเปลือยกายดื่ม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มี พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึง เปลือยกายไหว้กัน รูปใดไหว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงให้ภิกษุ เปลือยกายไหว้ ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงทำบริกรรมให้แก่ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุ เปลือยกาย ไม่พึงใช้ภิกษุเปลือยกายทำบริกรรม ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ของแก่ ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายรับประเคน ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเคี้ยว ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายฉัน .... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายลิ้มรส ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกาย ดื่ม รูปใดดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องศาลาเรือนไฟและบ่อน้ำ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดินที่ใกล้เรือนไฟ จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงในที่ ใกล้เรือนไฟ” ครั้นฝนตกจีวรเปียกฝน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตศาลาเรือนไฟ” ศาลาเรือนไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง” ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนบนศาลาเรือนไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง” สมัยนั้น ภิกษุยำเกรงที่จะทำบริกรรมในเรือนไฟบ้าง ในน้ำบ้าง ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด คือ ที่กำบังเรือนไฟ ที่กำบังน้ำ ที่กำบังผ้า” สมัยนั้น ในเรือนไฟไม่มีน้ำ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบ่อน้ำ” ขอบบ่อน้ำทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” บ่อน้ำมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง” ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” [๒๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เถาวัลย์บ้าง ประคดเอวบ้างผูกภาชนะตักน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับผูกภาชนะ ตักน้ำ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

มือทั้ง ๒ เจ็บ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต คันโพงคล้ายคันชั่ง ระหัดมือ ระหัดจักร” ภาชนะทั้งหลายแตกจำนวนมาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถังตักน้ำ ๓ ชนิด คือ ถังโลหะ ถังไม้ ถังหนัง” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตักน้ำในที่แจ้ง ย่อมลำบากเพราะความหนาวบ้าง เพราะ ความร้อนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาบ่อน้ำ” ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาบ่อน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้ มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง” สมัยนั้น บ่อน้ำที่ไม่ปิดฝา ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด” สมัยนั้น ไม่มีภาชนะใส่น้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางน้ำ อ่างน้ำ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำในที่นั้นๆ ในอาราม อารามลื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรางระบายน้ำ” รางระบายน้ำโล่งแจ้งไป ภิกษุทั้งหลายอายไม่กล้าสรงน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นกำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง ศิลา กำแพงไม้” บ่อน้ำลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เครื่องลาดอิฐ เครื่องลาดศิลา เครื่องลาดไม้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวเปียกชุ่มเย็น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดตัว”
เรื่องสระโบกขรณี
[๒๖๓] สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งประสงค์จะสร้างสระโบกขรณีถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสระโบกขรณี” ขอบสระโบกขรณีทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ก่อคันกั้นขอบสระโบกขรณีได้ ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วย ศิลา คันที่ทำด้วยไม้” ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” น้ำในสระโบกขรณีเก่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะสร้างเรือนไฟมีปั้นลมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔ เดือน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔ เดือน รูปใดอยู่ปราศจาก ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามนอนบนที่นอนโรยดอกไม้
[๒๖๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้ คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้ รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงอนุญาตรับของหอม
สมัยนั้น คนทั้งหลายถือของหอมบ้าง ดอกไม้บ้างมาวัด ภิกษุทั้งหลายยำเกรง อยู่จึงไม่ยอมรับประเคน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับของหอมแล้วเจิม ไว้ที่บานประตูหน้าต่าง รับดอกไม้แล้ววางไว้ด้านหนึ่งในวิหาร” สมัยนั้น สันถัตขนเจียม๑- เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสันถัตขนเจียม” @เชิงอรรถ : @ นมตกํ : สันถัตขนเจียม ทำด้วยขนแกะ ใช้อย่างแผ่นหนัง (วิ.อ. ๓/๒๖๔/๓๑๑) คล้ายสันถัต ใช้โดยไม่ต้อง @อธิษฐาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๔/๔๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังว่า “สันถัตขนเจียมต้องอธิษฐานหรือ ต้องวิกัป” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สันถัตขนเจียมไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้อง วิกัป” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโตก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงฉันอาหารโตก รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ เมื่อจะฉันอาหารไม่สามารถจะใช้มือประคองบาตรได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร”
เรื่องห้ามฉันในภาชนะเดียวกันเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ... ดื่มน้ำในขัน เดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงมีเครื่องลาดเดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวบ้าง ... นอนบนเตียงมีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและ ผ้าห่มบ้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารในภาชนะเดียวกัน ... ไม่พึงดื่มน้ำในขันเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง มีเครื่องลาดเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง มีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและผ้าห่ม รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๗-๔๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=7&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=7&A=657&Z=766                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=90              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=90&items=20              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=90&items=20                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:15.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.15



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :