ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับชนิดต่างๆ
[๒๔๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ... ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่องประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ ... ใช้เครื่องประดับข้อ มือ ... ใช้แหวนสวมนิ้วมือ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ... ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่อง ประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ .... ใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ใช้แหวนสวม นิ้วมือ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เครื่องประดับหู ... ไม่พึงใช้ สร้อยสังวาล ... ไม่พึงใช้สร้อยคอ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับเอว ... ไม่พึงใช้วลัย ... ไม่ พึงใช้สร้อยตาบ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ไม่พึงใช้แหวนสวมนิ้วมือ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
[๒๔๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้ ๒ เดือน หรือยาวได้ ๒ นิ้ว”๑-
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผมเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผม ... ใช้หวีหวีผม ... ใช้นิ้วมือต่าง หวีเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม @เชิงอรรถ : @ ถ้าภายใน ๒ เดือน ผมยาวถึง ๒ นิ้ว พึงตัดภายใน ๒ เดือน ไม่ควรปล่อยให้ยาวเกิน ๒ นิ้ว @หรือแม้ผมจะยังไม่ยาวก็ไม่ควรปล่อยไว้เกิน ๒ เดือนไปแม้แต่วันเดียว (วิ.อ. ๓/๒๔๖/๓๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แปรงหวีผม ... ไม่พึงใช้ หวีหวีผม ... ไม่พึงใช้นิ้วมือต่างหวีเสยผม ... ไม่พึงใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ไม่ พึงใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้า
[๒๔๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้าที่คันฉ่องบ้าง ในภาชนะ ใส่น้ำบ้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าที่คันฉ่องหรือใน ภาชนะใส่น้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุเป็นแผลที่หน้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่หน้า ถามภิกษุทั้งหลายว่า “แผลของกระผม เป็นอย่างไรขอรับ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เป็นอย่างนี้ๆ ขอรับ” ภิกษุนั้นไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต ให้ตรวจดูรอยตำหนิบนใบหน้าที่คันฉ่องหรือที่ภาชนะใส่น้ำได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้าด้วย มโนศิลา๑- ... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า ... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า ... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต ให้ทาหน้าได้ ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
[๒๔๘] สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไป เที่ยวดูมหรสพ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การบรรเลงดนตรีบ้าง เหมือน คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ มโนศิลา คือหินอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การ ขับร้อง หรือการบรรเลงดนตรี รูปใดไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๔๙] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวคล้ายเพลงขับ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาว เหมือนพวกเราขับร้องเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาวเล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวด ธรรมด้วยเสียงขับยาว จริงหรือ” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการคือ ๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น ๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น ๓. แม้คหบดีทั้งหลายก็ตำหนิ ๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมี ๕. ภิกษุรุ่นหลังจะพากันตามอย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว มีโทษ ๕ ประการนี้แล๑- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว รูปใดสวด ต้องอาบัติ ทุกกฏ”
เรื่องภิกษุสวดสรภัญญะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงในการสวดสรภัญญะ ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้านที่มีขนอยู่ด้านนอก คน ทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้าน ที่มีขนอยู่ด้านนอก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ฉันมะม่วง
[๒๕๐] สมัยนั้น มะม่วงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ กำลังออกผล พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงอนุญาตว่า “ขอนิมนต์พระคุณเจ้า ทั้งหลายฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอยมะม่วงเลือกเอาเฉพาะผลอ่อนๆ เท่านั้นมาฉัน @เชิงอรรถ : @ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๙/๓๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๗-๑๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=7&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=7&A=92&Z=183                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=12              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=12&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=12&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:2.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :