ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
อุปาลิปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของพระอุบาลี
สังฆราชี
[๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี(ความร้าวรานแห่งสงฆ์)’ ด้วยอาการเพียงไรจึงเป็น สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์)ก็และด้วยอาการเพียงไร จึงเป็นทั้ง สังฆราชีและสังฆเภท” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๑ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

สัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ๒. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ๓. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ๔. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ๕. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ๖. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๔ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้จัดเป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท ๗. ภิกษุ ๙ รูป หรือมากกว่า ๙ รูป จัดเป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท อุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย สิกขมานา ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสกทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสิกาก็ทำลาย สงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย อุบาลี ปกตัตตภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสีมาย่อมทำลายสงฆ์ได้
สังฆเภท
เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกกัน ๑๘ ประการ๑-
[๓๕๒] พระอุบาลีทูลถามว่า “ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท สังฆเภท’ สงฆ์ จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ ตรัสไว้ ๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา ๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๖๒-๓๖๓, วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๖๙-๓๗๐, ๓๗๙/๕๕๗-๕๕๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา ๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ๑- ภิกษุเหล่านั้นย่อมแยกพวกออกมา ประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ แยก กันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล
สังฆสามัคคี
[๓๕๓] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่า เป็นอธรรม ๒. แสดงธรรมว่า เป็นธรรม ๓. แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ๔. แสดงวินัยว่า เป็นวินัย ๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ ๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ ๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา ๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา ๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ @เชิงอรรถ : @ อาบัติชั่วหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่แยกพวกออกมาประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ ไม่ แยกกัน ทำอุโบสถ ไม่แยกกันทำปวารณา ไม่แยกกันทำสังฆกรรม อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล” [๓๕๔] ๑- พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น ย่อม ประสบผลชั่วร้าย ชั่วกัป ถูกไฟไหม้ในนรกตลอดกัป”
นิคมคาถา
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีการแตกกัน ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรม อยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐, อภิ.ก. ๓๗/๖๕๗/๓๙๕-๓๙๖, ๘๖๒/๔๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๑๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน ย่อม ประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป
นิคมคาถา
ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๗. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=7&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=7&A=4078&Z=4189                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=404              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=404&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=404&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :