ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค

๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนสวมรองเท้า ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนอยู่ในยาน พาหนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน ณ ที่ไหน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๑๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค

ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่นั่งรัดเข่า ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนพื้นดิน แสดงธรรมแก่ คนผู้นั่งบนอาสนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๑๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค

ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรม แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่ คนผู้เดินไปข้างหน้า ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรม แก่คนผู้เดินไปในทาง ณ ที่ไหน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๑๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค

ในสิกขาบทที่ ๑๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว ณ ที่ไหน ฯลฯ ในสิกขาบทที่ ๑๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๑๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์

มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปาทุกวรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑-๒ ว่าด้วยการครองอันตรวาสกและอุตตราสงค์เรียบร้อย สิกขาบทที่ ๓-๔ ว่าด้วยการปกปิดกายดีไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๕-๖ ว่าด้วยการสำรวมดีไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๗-๘ ว่าด้วยการมีจักษุทอดลงไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๙-๑๐ ว่าด้วยการไม่เวิกผ้าไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยการไม่หัวเราะดังไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๑๓-๑๔ ว่าด้วยการพูดเสียงเบาไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๑๕-๑๖ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงกายไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๑๗-๑๘ ว่าด้วยการไม่เดินแกว่งแขนไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๑๙-๒๐ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๒๑-๒๒ ว่าด้วยการไม่เดินเท้าสะเอวไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๒๓-๒๔ ว่าด้วยการไม่เดินคลุมศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๒๕ ว่าด้วยการไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๒๖ ว่าด้วยการไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๒๗ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตโดยเคารพ สิกขาบทที่ ๒๘ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต สิกขาบทที่ ๒๙ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง สิกขาบทที่ ๓๐ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร สิกขาบทที่ ๓๑ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตโดยเคารพ สิกขาบทที่ ๓๒ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต สิกขาบทที่ ๓๓ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๑๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์

สิกขาบทที่ ๓๔ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง สิกขาบทที่ ๓๕ ว่าด้วยการไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด สิกขาบทที่ ๓๖ ว่าด้วยการไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว สิกขาบทที่ ๓๗ ว่าด้วยการไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว สิกขาบทที่ ๓๘ ว่าด้วยการไม่มุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุอื่น สิกขาบทที่ ๓๙ ว่าด้วยการไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน สิกขาบทที่ ๔๐ ว่าด้วยการทำคำข้าวให้กลม สิกขาบทที่ ๔๑ ว่าด้วยการไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก สิกขาบทที่ ๔๒ ว่าด้วยการไม่สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก สิกขาบทที่ ๔๓ ว่าด้วยการไม่พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว สิกขาบทที่ ๔๔ ว่าด้วยการไม่ฉันโยนคำข้าว สิกขาบทที่ ๔๕ ว่าด้วยการไม่ฉันกัดคำข้าว สิกขาบทที่ ๔๖ ว่าด้วยการไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย สิกขาบทที่ ๔๗ ว่าด้วยการไม่ฉันสลัดมือ สิกขาบทที่ ๔๘ ว่าด้วยการไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว สิกขาบทที่ ๔๙ ว่าด้วยการไม่ฉันแลบลิ้น สิกขาบทที่ ๕๐ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ สิกขาบทที่ ๕๑ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ สิกขาบทที่ ๕๒ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียมือ สิกขาบทที่ ๕๓ ว่าด้วยการไม่ฉันขอดบาตร สิกขาบทที่ ๕๔ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียริมฝีปาก สิกขาบทที่ ๕๕ ว่าด้วยการไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร สิกขาบทที่ ๕๖ ว่าด้วยการไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน สิกขาบทที่ ๕๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่ม๑- สิกขาบทที่ ๕๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือไม้พลอง สิกขาบทที่ ๕๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือศัสตรา @เชิงอรรถ : @ บาลีใช้คำว่าพระตถาคตจะไม่ทรงแสดงพระสัทธรรมแก่คนเหล่านี้ (น เทเสนฺติ ตถาคตา) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์

สิกขาบทที่ ๖๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถืออาวุธ สิกขาบทที่ ๖๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า สิกขาบทที่ ๖๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมรองเท้า สิกขาบทที่ ๖๓ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่ในยานพาหนะ สิกขาบทที่ ๖๔ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน สิกขาบทที่ ๖๕ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งรัดเข่า สิกขาบทที่ ๖๖ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ สิกขาบทที่ ๖๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ สิกขาบทที่ ๖๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ สิกขาบทที่ ๖๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง สิกขาบทที่ ๗๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ สิกขาบทที่ ๗๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า สิกขาบทที่ ๗๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทางขณะที่ อยู่นอกทาง สิกขาบทที่ ๗๓ ว่าด้วยการไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ สิกขาบทที่ ๗๔ ว่าด้วยการไม่บ้วนน้ำลายบนของเขียว สิกขาบทที่ ๗๕ ว่าด้วยการไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์
๑. ปริมัณฑลวรรค หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเป็นปริมณฑล ๒. อุชชัคฆิกวรรค หมวดว่าด้วยการหัวเราะ ๓. ขัมภกตวรรค หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว ๔. ปิณฑปาตวรรค หมวดว่าด้วยบิณฑบาต ๕. กพฬวรรค หมวดว่าด้วยคำข้าว ๖. สุรุสุรุวรรค หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ดๆ ๗. ปาทุกาวรรค หมวดว่าด้วยเขียงเท้า
กัตถปัญญัตติวารในมหาวิภังค์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๑๕-๑๒๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=8&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=8&A=2346&Z=2511                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=227              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=227&items=17              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=227&items=17                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali#pli-tv-pvr1.1:305.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali#Prv.1.1:Bu-Sk.61



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :