ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

สมุฏฐานสีสสังเขป

๓. สมุฏฐานสีสสังเขป
ว่าด้วยการย่อหัวข้อสมุฏฐาน
[๒๕๗] สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา๑- เมื่อดวงจันทร์คือพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์คือพระพุทธเจ้ายังไม่อุทัยขึ้นมา เพียงชื่อของสภาคธรรมเหล่านั้น ก็ยังไม่มีใครรู้จัก พระมหาธีรเจ้าทั้งหลายผู้ทรงเป็นดวงตา ทรงทำทุกกรกิริยาหลายอย่าง บำเพ็ญพระบารมีแล้วเสด็จอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นไปพร้อมทั้งพรหมโลก พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมอันกำจัดเสียซึ่งทุกข์นำมาซึ่งความสุข พระอังคีรสศากยมุนีทรงเป็นผู้อนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์ทุกถ้วนหน้า พระองค์ผู้ทรงอุดมกว่าสรรพสัตว์ดุจราชสีห์ ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ พระสุตตันตะ พระอภิธรรม พระวินัย ซึ่งมีคุณมาก พระสัทธรรมจะเป็นไปได้ หากพระวินัยคืออุภโตวิภังค์ ขันธกะและมาติกายังดำรงอยู่ พระวินัยท่านร้อยกรองไว้ด้วยคัมภีร์ปริวาร เหมือนดอกไม้ร้อยด้วยเส้นด้าย สมุฏฐานแห่งคัมภีร์ปริวารนั่นแล ท่านจัดไว้แน่นอนแล้ว ความเจือปน นิทานและสิ่งอื่น จะปรากฏในพระสูตรข้างหน้า เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ต้องการศึกษาพระธรรมก็พึงศึกษาคัมภีร์ปริวารเถิด @เชิงอรรถ : @ ที่ท่านนำสิ่งที่เป็นบัญญัติมาวินิจฉัยว่า “เป็นอนัตตา” ร่วมกับพระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมนั้น @เพราะว่าต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน (วิมติ.ฏีกา ๒/๒๕๗/๓๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน

สมุฏฐาน ๑๓
ในวันอุโบสถ ภิกษุและภิกษุณีย่อมสวดสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็นทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง ๒ ข้าพเจ้าจะกล่าวสมุฏฐานตามที่รู้มา ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้าเถิด ปฐมปาราชิกสิกขาบท ทุติยปาราชิกสิกขาบท ถัดจากนั้น สัญจริตสิกขาบท สมนุภาสนสิกขาบท อติเรกจีวรสิกขาบท เอฬกโลมสิกขาบท ปทโสธัมมสิกขาบท ภูตาโรจนสิกขาบท สังวิธานสิกขาบท เถยยสัตถสิกขาบท เทสนาสิกขาบท โจรีวุฏฐานปนสิกขาบท รวมกับการบวชสตรีที่บิดามารดาหรือสามีไม่อนุญาต รวมเป็นสมุฏฐาน ๑๓ ในอุภโตวิภังค์นี้ นัยแห่งสมุฏฐานทั้ง ๑๓ นี้วิญญูชนทั้งหลายคิดกันแล้ว ย่อมปรากฏคล้ายคลึงกัน ในแต่ละสมุฏฐาน
๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
[๒๕๘] สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม สิกขาบทว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน สิกขาบทว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม อนิยตสิกขาบทที่หนึ่ง สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน สิกขาบทว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน

สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในที่ลับกับภิกษุณี สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในที่ลับ ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน สิกขาบทว่าด้วยการเล่นน้ำ สิกขาบทว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ สิกขาบทว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย เสขิยวัตร ๕๓ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยการยินดีการที่ชายจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไป สิกขาบทว่าด้วยการเข้าละแวกหมู่บ้านตามลำพัง สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีกำหนัดรับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด สิกขาบทว่าด้วยการใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด สิกขาบทว่าด้วยการใช้ท่อนยาง สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่หลีกจาริกไป สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท สิกขาบทว่าด้วยการไม่ติดตามปวัตตินี รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗๖ สิกขาบท ท่านจัดไว้เป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่งเหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น
ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน

๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน
[๒๕๙] สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม สิกขาบทว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง สิกขาบทว่าด้วยการใช้บำเรอความใคร่ของตน สิกขาบทว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะใส่ความภิกษุ ด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล สิกขาบทว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะอ้างเอา บางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น อนิยตสิกขาบทที่สอง จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการขุดดิน ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก สิญจนสิกขาบท ว่าด้วยการเอาน้ำรดหญ้าและดิน๑- อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส @เชิงอรรถ : @ คือสัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๓๙/๓๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน

ภุตตาวีสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุฉันแล้ว๑- เอหิสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนว่ามาเถิด๒- อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ อปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนบริขาร๓- ชีวิตสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจปลงชีวิตสัตว์๔- ชานสัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุรู้อยู่บริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต๕- กัมมสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อกรรมขึ้นมาพิจารณาใหม่๖- อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สังวาสสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม๗- นาสนสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรม โดยชอบธรรม วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล กุกกุจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ๘- ธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ถูกต้อง๙- @เชิงอรรถ : @ คือ ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหาร วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๔๒/๓๙๙ @ คือ อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๗๔/๔๒๓ @ คือ จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๗๗/๔๙๗ @ คือ สัญจิจจสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๘๒/๕๐๑ @ คือ สัปปาณกสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๘๗/๕๐๔ @ คือ อุกโกฏนสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๒/๕๐๖ @ คือ อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหา วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๒๓/๕๓๒ @ คือ สัญจิจจสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๖๔/๕๖๕ @ คือ กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๗๔/๕๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน

(จีวรทัตวาสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วติเตียน)๑- ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อบุคคล กินเตสิกขาบท ว่าด้วยการทำอะไรท่านได้๒- อกาลสิกขาบท ว่าด้วยการอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร๓- อัจฉินทสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวรแล้วชิงเอาคืน๔- ทุคคหิตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าใจผิด นิรยสิกขาบท ว่าด้วยการสาปแช่งด้วยนรก๕- คณสิกขาบท ว่าด้วยการทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ วิภังคสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ทุพพลสิกขาบท ว่าด้วยการหวังจีวรที่เลื่อนลอย กฐินสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม อผาสุสิกขาบท ว่าด้วยการก่อความไม่ผาสุก อุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการให้ที่อยู่แล้วฉุดลากออก อักโกสสิกขาบท ว่าด้วยการด่าภิกษุ จัณฑีสิกขาบท ว่าด้วยการขึ้งเคียดบริภาษคณะ มัจฉรีสิกขาบท ว่าด้วยความหวงตระกูล คัพภินีสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีครรภ์ ปายันตีสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้มีลูกยังดื่มนม เทฺววัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษา และผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี @เชิงอรรถ : @ แปลตามเชิงอรรถและตามคำอธิบายในอรรถกถา (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๔๒๖) คือ ทัพพสิกขาบท @ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๘๔/๕๗๗ @ คือ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการส่งเสริมภิกษุณีให้รับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด @วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๐๔/๔๘ @ สิกขาบทที่ ๒ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๓๘/๘๒ @ สิกขาบทที่ ๓ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๔๓/๘๖ @ สิกขาบทที่ ๙ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๗๔/๑๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๓. สัญจริตตสมุฏฐาน

คิหิคตาสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีที่มีครอบครัว ๓ สิกขาบท๑- กุมารีภูตสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้กุมารี ๓ สิกขาบท๒- อูนทวาทสวัสสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ เป็นปวัตตินี อสัมมตาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ เป็นปวัตตินี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ อลันตาวสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีที่สงฆ์ห้ามว่าอย่าเลย๓- โสกาวัสสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีผู้ทำชายให้ระทมโศก ฉันทสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ อนุวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาทุกๆ ปี วัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาปีละ ๒ รูป รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗๐ สิกขาบท จัดเป็น ๓ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓ เหมือนทุติยปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น
ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน จบ
๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
[๒๖๐] สัญจริตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหาร โธวนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า ปฏิคคหสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทที่ ๕-๖-๗ แห่งคัพภินีวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๙๐/๓๐๕, ๑๐๙๕/๓๐๘, ๑๑๐๑/๓๑๒ @ สิกขาบทที่ ๑-๒-๓ แห่งกุมารีภูตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๑๑๙/๓๒๒, ๑๑๒๔/๓๒๕, ๑๑๓๐/๓๒๙ @ สิกขาบทที่ ๖ แห่งกุมารีภูตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๑๔๖/๓๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๓. สัญจริตตสมุฏฐาน

วิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน อุภินนสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร ๒ สิกขาบท๑- ทูตกสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น ให้ทูตนำมาถวาย โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง ริญจันติสิกขาบท ว่าด้วยการละเลยอุทเทส๒- รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ นานัปปการกสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะ และการซื้อขายมีประการต่างๆ อูนพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน สุตตสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการกำหนดชนิดจีวร๓- ทวารสิกขาบท ว่าด้วยการติดตั้งบานประตูใกล้วงกบประตู๔- ทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร สิพพินีสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี ปูวสิกขาบท ว่าด้วยทายกนำขนมมาปวารณา๕- @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งจีวรวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๒๗/๕๑, ๕๓๒/๕๗ @ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักขนเจียม(จนละเลยอุทเทส) แห่งโกสิยวรรค @วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๗๖/๑๐๑ @ มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการส่งช่างหูกทอจีวร แห่งปัตตวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๔๑/๑๖๑ @ มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่ แห่งภูตคามวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๓๔/๓๐๙ @ กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา แห่งโภชนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๐/๓๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๔๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๓. สัญจริตตสมุฏฐาน

ปัจจยสิกขาบท ว่าด้วยการยินดีการปวารณาด้วยปัจจัย๑- โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรตนะที่เจ้าของลืมไว้ สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน สุคตสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะทำจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร วิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว ออกปากขอของอย่างอื่น อัญญเจตาปนสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น สังฆิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ๒ สิกขาบท๒- มหาชนิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาค แก่ภิกษุณีจำนวนมาก ๒ สิกขาบท๓- ปุคคลิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาคแก่บุคคล ครุสิกขาบท ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนา ลหุกสิกขาบท ว่าด้วยการขอผ้าห่มบาง วิฆาสสิกขาบท ว่าด้วยการทิ้งของเป็นเดน ๒ สิกขาบท๔- อุทกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด สมณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้สมณะจีวรแก่ผู้มิใช่ภิกษุณี @เชิงอรรถ : @ มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ แห่งอเจลกวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๐๓/๔๔๕ @ สิกขาบทที่ ๖-๗ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๕๘/๙๘, ๗๖๓/๑๐๒ @ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๖๘/๑๐๖, ๗๗๓/๑๑๐ @ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งลสุณวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๒๔/๑๔๖, ๘๒๘/๑๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน

ธรรมคือสิกขาบทเหล่านี้ รวม ๕๐ สิกขาบท เกิดด้วย ๖ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓ อนึ่ง สิกขาบทเหล่านี้ มี ๖ สมุฏฐาน เช่นกับสัญจริตตสิกขาบท
สัญจริตตสมุฏฐาน จบ
๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน
[๒๖๑] เภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน อนุวัตตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก ทูสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ ทิฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ยอมสละทิฏฐิ๑- ฉันทสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย อุชชัคฆิกสิกขาบท ว่าด้วยการหัวเราะดังในบ้าน ๒ สิกขาบท สัททสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเสียงเบาในบ้าน ๒ สิกขาบท นพยาหรสิกขาบท ว่าด้วยการไม่พูดขณะมีคำข้าวอยู่ในปาก ฉมาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุนั่งที่พื้นจักไม่แสดงธรรม แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ นีจาสนสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรม แก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง @เชิงอรรถ : @ อุกขิตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๒๓/๕๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน

ฐานสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุยืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ปัจฉโตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเดินอยู่ข้างหลังจักไม่แสดงธรรม แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า อุปปเถนสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรม แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง วัชชสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดโทษ๑- อนุวัตติสิกขาบท ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม คหณสิกขาบท ว่าด้วยการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น โอสาเรสิกขาบท ว่าด้วยการเรียกภิกษุณีที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่ ปัจจาจิกขนาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกคืนพระรัตนตรัย กัสมิงสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่ง สังสัฏฐาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีกับภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน วธิสิกขาบท ว่าด้วยการร้องไห้ทุบตีตนเอง วิสิพพสิกขาบท ว่าด้วยการเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ ทุกขิตาสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ใส่ใจดูแลเพื่อนภิกษุณี ปุนสังสัฏฐาสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ นวูปสมสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ช่วยระงับอธิกรณ์ อารามสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าอารามโดยไม่บอก ปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย อันวัฑฒมาสสิกขาบท ว่าด้วยพึงหวังธรรม ๒ อย่างทุกกึ่งเดือน สหชีวินีสิกขาบท ว่าด้วยการไม่อนุเคราะห์สหชีวินีตลอด ๒ ปี จีวรสิกขาบท ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ถวายจีวรแล้วไม่บวชให้ อนุพันธนาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ติดตาม ตลอด ๒ ปี แล้วไม่บวชให้ @เชิงอรรถ : @ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๔/๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๕. กฐินสมุฏฐาน

ธรรม คือ สิกขาบทเหล่านี้ รวม ๓๗ สิกขาบท เกิดทางกายวาจากับจิต ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่ง เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท
สมนุภาสนาสมุฏฐาน จบ
๕. กฐินสมุฏฐาน
[๒๖๒] อุพภตกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะ ๓ สิกขาบท๑- ปฐมปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตรสิกขาบทที่ ๑ เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช อัจเจกสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง ปักกมันตสิกขาบท ว่าด้วยเมื่อจะจากไป ๒ สิกขาบท๒- อุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก ปรัมปรสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ อนติริตตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน๓- นิมันตนาสิกขาบท ว่าด้วยการได้รับนิมนต์๔- วิกัปปสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร รัญโญสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปในตำหนักที่บรรทมของพระราชา๕- วิกาลสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล โวสาสสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ @เชิงอรรถ : @ ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ แห่งจีวรวรรค @วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๕๙/๑, ๔๗๑/๙, ๔๙๗/๑๙ @ ปฐมเสนาสนสิกขาบท ทุติยเสนาสนสิกขาบท แห่งภูตคามวรรค @วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๐๘/๒๙๑, ๑๑๔/๒๙๕ @ ปฐมปวารณาสิกขาบท แห่งโภชนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๖/๓๙๓ @ จาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๔/๔๓๗ @ อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ แห่งรตนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๙๔/๕๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน

อารัญญกสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวในเสนาสนะป่า๑- อุสูยาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีก่อคดีพิพาท สันนิจยสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมบาตร ปูเรภัตตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร๒- ปัจฉาภัตตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังฉันภัตตาหาร วิกาลสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล๓- ปัญจาหิกสิกขาบท ว่าด้วยการให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิ มีกำหนดระยะเวลา ๕ วันล่วงเลยไป สังกมนีสิกขาบท ว่าด้วยการห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน อาวสถสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าซับระดูแล้ว ไม่สละและว่าด้วยการไม่สละที่พัก ปสาขสิกขาบท ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า อาสนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งบนอาสนะ โดยไม่ขอโอกาสก่อน ธรรม คือสิกขาบทเหล่านี้ รวม ๒๙ สิกขาบท เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต และเกิดทางทวารทั้ง ๓ ทุกสิกขาบท มี ๒ สมุฏฐาน เหมือนกับกฐินสิกขาบท
กฐินสมุฏฐาน จบ
๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
[๒๖๓] เอฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม เสยยสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน๔- @เชิงอรรถ : @ จตุตถปฏิเทสนียสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๗๐/๖๔๒ @ สิกขาบทที่ ๕ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๕๔/๑๖๗ @ สิกขาบทที่ ๗ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๖๔/๑๗๓ @ สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ แห่งมุสาวาทวรรค @วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๙/๒๓๗, ๕๕/๒๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน

อาหัจจปาทกสิกขาบท ว่าด้วยเรื่องเตียงตั่งมีขาจดแม่แคร่๑- ปิณฑโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนในเวลาวิกาล สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือยกาย อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูสนามรบ สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย โอเรนนหายนสิกขาบท ว่าด้วยยังไม่ถึงครึ่งเดือนอาบน้ำ ทุพพัณณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี ปาฏิเทสนียสิกขาบท ๒ สิกขาบท๒- ลสุณสิกขาบท ว่าด้วยการขอกระเทียม อุปติฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการปรนนิบัติ นัจจาสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูการฟ้อนรำ นาหนสิกขาบท ว่าด้วยการเปลือยกายอาบน้ำ เอกัตถรณปาปุรณสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนเป็นทั้งผ้าห่ม เสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนบนเตียงเดียวกัน อันโตรัฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายในรัฐ พหิรัฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายนอกรัฐ @เชิงอรรถ : @ ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ แห่งภูตคามวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๐๘/๒๙๑ @ ปฐมปาฎิเทสนียสิกขาบท และตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน @วิ.อ. ๒/๕๕๖/๔๔๓, ๕๖๙/๔๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน

อันโตวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา จิตตาคารสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูหอจิตรกรรม อาสันทิสิกขาบท ว่าด้วยใช้ตั่งยาว สุตตกันตนาสิกขาบท ว่าด้วยการกรอด้าย เวยยาวัจจสิกขาบท ว่าด้วยการช่วยทำการขวนขวาย สหัตถาสิกขาบท ว่าด้วยการให้ของเคี้ยวด้วยมือตน อภิกขุกาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ฉัตตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีผู้ไม่เป็นไข้กั้นร่มและสวมรองเท้า ยานสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางด้วยยานพาหนะ สังฆาณิสิกขาบท ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับเอว อลังการสิกขาบท ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับของสตรี คันธสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ของหอม วาสิตสิกขาบท ว่าด้วยการใช้แป้งอบกลิ่น ภิกขุนีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ภิกษุณีให้บีบนวด สิกขมานาสิกขาบท ว่าด้วยการใช้สิกขมานาให้บีบนวด สามเณรีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้สามเณรีให้บีบนวด คิหินีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้คฤหัสถ์หญิงให้บีบนวด อสังกัจฉิกาสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านโดยไม่มีผ้ารัดถัน รวมเป็น ๔๔ สิกขาบท เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจากับจิต เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ทุกสิกขาบทมี ๒ สมุฏฐาน เหมือนกับเอฬกโลมสิกขาบท
เอฬกโลมสมุฏฐาน จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๘. อัทธานสมุฏฐาน

๗. ปทโสธัมมสมุฏฐาน
[๒๖๔] ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการสอนให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบทๆ อัญญัตรสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม เกิน ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่ อสัมมตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุไม่ได้รับแต่งตั้งสั่งสอนภิกษุณี อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ติรัจฉานวิชชาสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการเรียนดิรัจฉานวิชา และว่าด้วยการสอนดิรัจฉานวิชา อโนกาสปุจฉาสิกขาบท ว่าด้วยการถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗ สิกขาบท เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ทุกสิกขาบทมี ๒ สมุฏฐาน เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท
ปทโสธัมมสมุฏฐาน จบ
๘. อัทธานสมุฏฐาน
[๒๖๕] อัทธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี นาวสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ปณีตสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต มาตุคามสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม สังหรสิกขาบท ว่าด้วยการถอนขนในที่แคบ ธัญญสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอข้าวเปลือกดิบ นิมันติตาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีได้รับนิมนต์๑- ปาฏิเทสนียสิกขาบท ๘ สิกขาบท๒- @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทที่ ๔ แห่งอารามวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๓๗/๒๗๔ @ ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑-๘ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕, ๑๒๓๔/๓๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน

สิกขาบทเหล่านี้ รวมเป็น ๑๕ สิกขาบท เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา เกิดทางกายวาจากับจิต รวมเป็น ๔ สมุฏฐาน พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระญาณทรงบัญญัตินัยไว้เสมอกับอัทธานสิกขาบท
อัทธานสมุฏฐาน จบ
๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน
[๒๖๖] เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วม กับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน สูปวิญญาปนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอแกงและข้าวสุก๑- รัตติสิกขาบท ว่าด้วยการสนทนากับชายในเวลาค่ำคืน ฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชาย ในโอกาสที่กำบัง โอกาสสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง พยูหสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในตรอกตัน สิกขาบทเหล่านี้รวมเป็น ๗ สิกขาบท เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา เกิดทางทวารทั้ง ๓ สิกขาบทเหล่านี้มี ๒ สมุฏฐาน พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ได้ทรงแสดงนัยไว้ เหมือนเถยยสัตถสมุฏฐาน
เถยยสัตถสมุฏฐาน จบ
@เชิงอรรถ : @ สิกขาบทที่ ๗ แห่งสักกัจจวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๑๒/๖๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๑๒. โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน

๑๐. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
[๒๖๗] พระตถาคตเจ้าจะไม่ทรงแสดงพระสัทธรรมแก่คนกั้นร่ม ผู้ถือไม้พลอง ผู้ถือศัสตรา ผู้ถืออาวุธ ผู้สวมเขียงเท้า ผู้สวมรองเท้า ผู้อยู่ในยานพาหนะ ผู้อยู่บนที่นอน ผู้นั่งรัดเข่า ผู้โพกศีรษะ ผู้คลุมศีรษะ รวมเป็น ๑๑ สิกขาบทพอดี เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่ง เสมอกับธัมมเทสนาสิกขาบท
ธัมมเทสนาสมุฏฐาน จบ
๑๑. ภูตาโรจนสมุฏฐาน
[๒๖๘] ภูตาโรจนสิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต ขึ้นชื่อว่าภูตาโรจนสิกขาบทย่อมเกิดจาก ๓ สมุฏฐาน
ภูตาโรจนสมุฏฐาน จบ
๑๒. โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน
[๒๖๙] โจรีวุฏฐาปนสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้เป็นโจร โจรีวุฏฐาปนสิกขาบทนี้ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓ สิกขาบทนี้พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงบัญญัติไว้ว่ามี ๒ สมุฏฐาน ไม่ซ้ำกัน
โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๕๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป]

๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน

๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
[๒๗๐] อนนุญญาตสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานา ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓ จึงมี ๔ สมุฏฐาน ไม่ซ้ำกัน
อนนุญญาตสมุฏฐาน จบ
ความจริง สมุฏฐานโดยย่อทั้ง ๑๓ สิกขาบท พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นเหตุทำความไม่หลง อนุโลมในหัวข้อหลักธรรมที่เป็นแบบแผน วิญญูชนเมื่อจำสมุฏฐานนี้ไว้ได้ ก็จะไม่หลงในสมุฏฐานแล
สมุฏฐานสีสสังเขป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๔๒-๓๖๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=8&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=8&A=5897&Z=6130                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=826              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=826&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9528              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=826&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9528                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr3/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :