ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

กติปุจฉาวาร

อันตรเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความในระหว่าง
กติปุจฉาวาร
วาระว่าด้วยการถามว่ามีเท่าไร
[๒๗๑] ถาม : อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความไม่ เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร สมุฏฐานแห่ง อาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร สาราณียธรรม(ธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน)มีเท่าไร สังฆเภท(เรื่องทำความแตกร้าว)มีเท่าไร อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร ตอบ : อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ วิบัติมี ๔ สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ สาราณียธรรม มี ๖ สังฆเภทมี ๑๘ อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗
อาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ ๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส ๓. อาบัติปาจิตตีย์ ๔. อาบัติปาฏิเทสนียะ ๕. อาบัติทุกกฏ นี้คืออาบัติ ๕ อย่าง
กองอาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ ๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส ๓. กองอาบัติปาจิตตีย์ ๔. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ ๕. กองอาบัติทุกกฏ นี้คือกองอาบัติ ๕ กอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

กติปุจฉาวาร

วินีตวัตถุ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน คือ ๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด ๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกองอาบัติ ๕ ๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้คือวินีตวัตถุ ๕ อย่าง
อาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส ๓. อาบัติถุลลัจจัย ๔. อาบัติปาจิตตีย์ ๕. อาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. อาบัติทุกกฏ ๗. อาบัติทุพภาสิต นี้คืออาบัติ ๗ อย่าง
กองอาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส ๓. กองอาบัติถุลลัจจัย ๔. กองอาบัติปาจิตตีย์ ๕. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. กองอาบัติทุกกฏ ๗. กองอาบัติทุพภาสิต นี้คือกองอาบัติ ๗ กอง
วินีตวัตถุ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

กติปุจฉาวาร

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด ๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกองอาบัติ ๗ ๕. ความไม่ประกอบ ๖. การไม่ทำ การไม่แกล้งต้องการไม่ละเมิดเวลา ๗. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้คือวินีตวัตถุ ๗ อย่าง
ความไม่เคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน คือ ๑. ความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความไม่เคารพในพระธรรม ๓. ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ๔. ความไม่เคารพในสิกขา ๕. ความไม่เคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความไม่เคารพในปฏิสันถาร นี้คือความไม่เคารพ ๖ ประการ
ความเคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน คือ ๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความเคารพในพระธรรม ๓. ความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเคารพในสิกขา ๕. ความเคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความเคารพในปฏิสันถาร นี้คือความเคารพ ๖ ประการ
วินีตวัตถุ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน คือ ๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด ๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากความไม่เคารพ ๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

กติปุจฉาวาร

๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา ๖. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ นี้คือวินีตวัตถุ ๖ ประการ
วิบัติ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน คือ ๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ ๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ นี้คือวิบัติ ๔ อย่าง
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน คือ ๑. อาบัติเกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต ๒. อาบัติเกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต ๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต ๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ๖. อาบัติเกิดทางกายวาจากับจิต นี้คือสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=8&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=8&A=6131&Z=6181                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=841              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=841&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9803              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=841&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9803                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :