ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพ
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ๑- และไม่ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน @เชิงอรรถ : @ เสพ ในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง รู้ เห็น พิจารณา อธิษฐานจิต น้อมใจเชื่อ ประคองความเพียร ตั้งสติไว้ @ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ @เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๑-๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ ๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ ๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ ๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ ๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน และกัน เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ ๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ คือ [๑๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกาย สมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
กายสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๑] เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือไม่ถือเอาทรัพย์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความ เป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤิตผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่ละเมิดจารีต ในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ใน ปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ใน ปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ในปกครอง ของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่ โดย ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพระอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ ๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง วจีสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
วจีสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๒] เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขา อ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคล นั้นไม่รู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ หรือรู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า ‘ไม่เห็น’ เขาพูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง๑- เป็นผู้พูดส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อ ทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน เป็นผู้พูด คำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่หยาบคาย เผ็ดร้อน หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๖-๓๔๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๔/๑๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาลอันไม่สมควร เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จได้แล้ว คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้ สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ เขาไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ละการพูด ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้ เกิดความสามัคคี ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบได้แล้ว วาจาใด ไร้โทษ เสนาะโสต น่ารัก จับใจ เป็นถ้อยคำของชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ คนส่วนใหญ่พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าว วาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้นมีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอัน สมควร๑- เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๕/๒๕๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ ๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ ๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง มโนสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น มโนสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
มโนสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๓] เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือเพ่งเล็ง อยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น จะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์ เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนเถิด’๑- เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ ๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
จิตตุปบาท ๒ ประการ
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว จิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ คือ ๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ ๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง จิตตุปบาทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จิตตุปบาทเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตสหรคต ด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ปองร้ายเขา มีจิตสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความ เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตไม่ สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนอยู่ มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่ เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวจิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ คือ ๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ ๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

การได้สัญญา ๒ ประการ
[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ ได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ ๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง การได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้สัญญา เช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย อภิชฌาอยู่ เป็นผู้พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย อนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่ เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ ๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
การได้ทิฏฐิ ๒ ประการ
[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ ได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ ๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง การได้ทิฏฐิเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้ทิฏฐิเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่ เป็นโอปปาติกะ๑- ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และ โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก‘๒- @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (จูฬปุณณมสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๗๑/๕๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๗, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๓/๔๕๙-๔๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’ เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้ทิฏฐิ ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ ๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
การได้อัตภาพ ๒ ประการ
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ ได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันมีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ ได้อัตภาพอันมีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะ การได้อัตภาพอันไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม เจริญขึ้น พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพ ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ [๑๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็น ผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยูในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ สรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ด้วยความเป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่ ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหม ติดตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม เจริญขึ้น เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ เรากล่าวมโนสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ เรากล่าวจิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ ฯลฯ เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ ฯลฯ เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ ฯลฯ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ ได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ ได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม เจริญขึ้น เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

อายตนะ ๑๒ ประการ
[๑๑๙] สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รูปที่ควรเสพ ๒. รูปที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูไว้ ๒ ประการ คือ ๑. เสียงที่ควรเสพ ๒. เสียงที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กลิ่นที่ควรเสพ ๒. กลิ่นที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รสที่ควรเสพ ๒. รสที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไว้ ๒ ประการ คือ ๑. โผฏฐัพพะที่ควรเสพ ๒. โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ ๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร โดยพิสดาร อย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้ง ทางตาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รูปที่ควรเสพ ๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรม เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคล เสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้ แจ้งทางตาเช่นนี้ควรเสพ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รูปที่ควรเสพ ๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงกล่าวไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้ง ทางหู ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ ควรเสพ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้ แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ ๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล ธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้ แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการคือ ๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ ๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้ มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้” [๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้ว่า ‘เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รูปที่ควรเสพ ๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพรูปที่ พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง ทางตาเช่นนี้ควรเสพ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ ๑. รูปที่ควรเสพ ๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ ควรเสพ ฯลฯ ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก เช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ควร เสพ ฯลฯ ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ ๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้ แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ ๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย พิสดารอย่างนี้ [๑๒๑] สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. บิณฑบาตที่ควรเสพ ๒. บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. เสนาสนะที่ควรเสพ ๒. เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. หมู่บ้านที่ควรเสพ ๒. หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวนิคมไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. นิคมที่ควรเสพ ๒. นิคมที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวนครไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. นครที่ควรเสพ ๒. นครที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวชนบทไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. ชนบทที่ควรเสพ ๒. ชนบทที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นครเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ [๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอทราบเนื้อความ แห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น สารีบุตร เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม เจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ ... บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล ธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ [๑๒๓] สารีบุตร แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่ เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง ... แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวง ... แม้ถ้าศูทรทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดย พิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร ทั้งปวงตลอดกาลนาน สารีบุตร แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรา กล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๓๕-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=14&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=14&A=2899&Z=3431                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=198&items=36              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1751              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=198&items=36              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1751                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i198-e.php# https://suttacentral.net/mn114/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :