ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

๓. สุญญตวรรค
หมวดว่าด้วยสุญญตา
๑. จูฬสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของ เจ้าศากยะชื่อนครกะ แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อานนท์ ปัจจุบันนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม๒- โดยมาก ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ ดีแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกต้อง อานนท์ ข้อนั้นเธอสดับมาดีแล้ว รับมาดี แล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตา- วิหารธรรมโดยมาก เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้ ว่างจากช้าง โค ม้า และลา ว่างจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ ไม่ว่างอยู่ อย่างเดียวคือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจความ สำคัญว่าบ้าน ไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะความสำคัญว่าป่า จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าป่า @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (สุนักขัตตสูตร) หน้า ๖๒ ในเล่มนี้ @ สุญญตาวิหารธรรม หมายถึงการอยู่ด้วยสุญญตผลสมาบัติ (ม.อุ.อ. ๓/๔๓๘/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะอาศัยความสำคัญว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญ ว่ามนุษย์ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าอย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าบ้าน’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าป่าเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตา(ความว่าง)ตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๗๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจความ สำคัญว่าป่า ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอ จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจถึงความลุ่มๆ ดอนๆ แห่งแผ่นดินนี้ซึ่งมีแม่น้ำลำธาร เต็มไปด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอทั้งหมด ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไป ในความสำคัญว่าแผ่นดิน ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะอาศัยความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความ สำคัญว่าป่า มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน อย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’ ด้วย อาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๗๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าป่า ไม่ใส่ใจความสำคัญ ว่าแผ่นดิน ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น จิต ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะนี้ ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่า ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย ความสำคัญว่าแผ่นดิน มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่า อากาสานัญจายตนะอย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ นั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๗๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า วิญญาณัญจายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะนี้ ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะ อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะอย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดิน’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ นั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๘๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า อากิญจัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะนี้ ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ มีอยู่เพียงความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะอย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ นั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๘๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่ ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ น้อมไปในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ ไม่มี ความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ มีอยู่เพียงความ กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะอย่างเดียว’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน ความสำคัญนั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๘๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่ ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต๑- เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต @เชิงอรรถ : @ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตในวิปัสสนาที่เรียกว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีสิ่งที่เที่ยง @เป็นนิมิต เป็นต้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๒/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้ เท่านั้น เหตุมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๘๓] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญา- ยตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้ แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุ นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย กามาสวะ ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะ ในญาณนี้ไม่มี ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๑. จูฬสุญญตสูตร

รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ’ รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ’ รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้ เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’ อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้ [๑๘๔] อานนท์ ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าถึง สุญญตา๑- อันบริสุทธิ๒- ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่ ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่ ในปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่ อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าถึงสุญญตา อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬสุญญตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ สุญญตา หมายถึงผลสมาบัติที่เกิดจากความว่าง (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑) @ บริสุทธิ หมายถึงไม่มีกิเลส (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๔/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๑๕-๒๒๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=14&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=14&A=4714&Z=4845                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=333              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=333&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=2744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=333&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=2744                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i333-e.php# http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i333-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.121.than.html https://suttacentral.net/mn121/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :