ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๗. มักกฏสูตร
ว่าด้วยลิงติดตัง
[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไปได้ยาก ขรุขระ ไม่เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไปได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง ไม่ใช่ที่เที่ยวไปของหมู่มนุษย์ มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร

ภาคพื้นขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของ หมู่มนุษย์ ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกนายพรานวางตัง๑- ดักไว้ที่ทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง ภิกษุทั้งหลาย บรรดาลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น เห็นตังนั้นก็หลีกห่างไกล ส่วนลิงตัวใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้นแล้ว เอามือจับดู มือจึงติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือออก จึงเอามือข้างที่ ๒ จับ มือข้างที่ ๒ ก็ติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ ข้างออกจึงเอาเท้ายัน เท้าก็ติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าออก จึงเอาเท้าข้างที่ ๒ ยัน เท้าข้างที่ ๒ ก็ติดที่ตัง นั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าทั้ง ๒ ออกจึงเอาปากกัด ปากก็ติดที่ตังนั้นอีก ลิงตัวนั้นติดตัง ๕ แห่งอย่างนี้ นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ย่อยยับแล้ว ถูก นายพรานทำได้ตามใจปรารถนา นายพรานแยกลิงตัวนั้นออกแล้ว ยกแขวนไว้ในที่ นั้นเอง ไม่ให้หลุดไปแล้วหลีกไปตามต้องการ เรื่องลิงเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่ หากิน ก็เป็นเช่นนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์ แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร คือ กามคุณ ๕ ประการ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจร @เชิงอรรถ : @ ตัง ได้แก่ ยางไม้ที่ประสมกับสิ่งอื่นแล้วทำให้เหนียวสำหรับดักนกเป็นต้น @(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]

๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มารก็จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร อะไรบ้าง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ สติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”
มักกฏสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๑๘-๒๒๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=19&siri=137              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=19&A=4019&Z=4049                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=701              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=701&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5963              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=701&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5963                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.007.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.007.olen.html https://suttacentral.net/sn47.7/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.7/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :