ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๔. ปฏิปัตติวรรค ๔. ปารังคมสูตร

๔. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้ถึงฝั่ง
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็น ไปเพื่อถึงฝั่งโน้น๑- จากฝั่งนี้๒- ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้น จากฝั่งนี้” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๓- ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ๔- อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น @เชิงอรรถ : @ ฝั่งโน้น ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖) @ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ @นิพพาน ๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน @(๒) กัมมวัฏฏะ วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏะ วงจรวิบาก ประกอบ @ด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๔. ปฏิปัตติวรรค ๕. ปฐมสามัญญสูตร

บัณฑิตละธรรมดำ๑- แล้วพึงเจริญธรรมขาว๒- ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ๓- ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก๔- ที่ยินดีได้ยากยิ่ง บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๕-
ปารังคมสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ ๑
[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผล แห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง @เชิงอรรถ : @ ธรรมดำ หมายถึงอกุศลธรรม ได้แก่ กายทุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑-๕๒) @ ธรรมขาว หมายถึงกุศลธรรม ได้แก่ กายสุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑-๕๒) @ ที่มีน้ำ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ที่ไม่มีน้ำ ในที่นี้หมายถึงวิวัฏฏะ คือนิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ วิเวก หมายถึงวิเวก ๓ มีกายวิเวกเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๔/๑๘๕, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๗/๒๖๙-๒๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๓-๓๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=19&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=19&A=528&Z=546                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=97              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=97&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=97&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i089-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn45.34/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.34/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :