ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร

๕. สคาถกปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศลที่มีคาถาปน
๑. ปฐมอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑
[๑๐๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๔ ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้ การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ ไม่ได้เลย’ การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑- น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือ @เชิงอรรถ : @ อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงในบาลี คือ ๔ นาฬี (ทะนาน) เป็น ๑ อาฬหกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร

น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑- เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”๒-
ปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก หมายถึงมีสิ่งที่มีวิญญาณ เช่น ปลาตัวใหญ่ จระเข้ ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ พญานาค และ... @(อสูรบางจำพวก) และสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น บาดาลที่มีปากทางกว้างใหญ่ (สํ.ม.อ. ๓/๑๐๓๗/๓๗๑, @องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) และคำนี้แปลมาจากคำว่า พฬวามุขํ คือสถานที่เป็นปาก(อ่าว) กลม(สะดือทะเล) @กว้างใหญ่กลางมหาสมุทร (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๑๙) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑/๘๔-๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๖๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๖๐-๕๖๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=19&siri=359              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=19&A=9517&Z=9547                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1603              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1603&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8091              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1603&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8091                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.41/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :