ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

๖. สาฬหสูตร
ว่าด้วยนายสาฬหะถามถึงหลักความเชื่อ
[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ใน บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะผู้เป็นหลานชายของมิคารเศรษฐี และนายโรหนะผู้เป็นหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี เข้าไปหาท่านพระนันทกะถึง ที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับสาฬหมิคารนัดดาดังนี้ว่า มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่ บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะมีอยู่หรือ “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อภิชฌา” บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ ของเขานี้ เป็นผู้โลภ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท (ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น กุศลหรืออกุศล” “เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคล ถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่ บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะมีอยู่หรือ “มี ท่านผู้เจริญ” สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อนภิชฌา” บุคคลผู้ไม่เพ่งเล็งอยาก ได้ของเขานี้ เป็นผู้ไม่โลภ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อพยาบาท” บุคคลผู้มีจิตไม่ พยาบาทนี้เป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะมีอยู่หรือ” “มี ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “วิชชา” บุคคลผู้มีวิชชานี้เป็นผู้ ไม่หลงอยู่ในความรู้นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ” “อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ” “สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

“เป็นกุศล ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ” “เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ท่านผู้เจริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ” “เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ ท่านผู้เจริญ” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ” ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าว ไว้ว่า มาเถิด ท่านสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น สาฬหะและโรหนะ พระอริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศ ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่ เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอด ทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินี้๑- มีอยู่ ธรรมอันทราม๒- มีอยู่ ธรรมอันประณีต๓- มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดออกอย่าง ยอดเยี่ยม๔- มีอยู่” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี” เธอไม่มีความทะยาน อยาก ดับสนิทเยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน
สาฬหสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมชาตินี้ หมายถึงทุกขสัจ กล่าวคือขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันทราม หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันประณีต หมายถึงมรรคสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) @ การสลัดออกอย่างยอดเยี่ยม หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=111              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=5093&Z=5214                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=506              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=506&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4712              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=506&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4712                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.066.nymo.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-067.html https://suttacentral.net/an3.66/en/sujato https://suttacentral.net/an3.66/en/nyanamoli



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :