ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถนั้น ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนางวิสาขาดังนี้ว่า วิสาขา เธอมาจากที่ไหนแต่ยัง วันเชียว นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันจะรักษาอุโบสถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ ประการ อุโบสถ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค) ๒. นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์) ๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก) โคปาลอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ คนเลี้ยงโคในตอนเย็นมอบโคให้เจ้าของย่อมเห็นประจักษ์อย่างนี้ว่า วันนี้ โคทั้งหลายเที่ยวไปในที่โน้นๆ ดื่มน้ำในแหล่งโน้นๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ โคทั้งหลาย จักเที่ยวไปในที่โน้นๆ จักดื่มน้ำในแหล่งโน้นๆ ฉันใด คนที่รักษาอุโบสถบางคนใน โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดอย่างนี้ว่า “วันนี้ เราเองเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ๆ บริโภคของกินชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ เราจักเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จัก บริโภคของกินชนิดนี้ๆ” บุคคลนั้นมีใจประกอบด้วยอภิชฌาย่อมให้วันเวลาผ่านไป ด้วยโลภะนั้น วิสาขา โคปาลอุโบสถเป็นอย่างนี้แล โคปาลอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๑) นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ มีสมณะนิกายหนึ่งนามว่านิครนถ์ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่ อยู่ทางทิศเหนือเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้เลยร้อยโยชน์ ไป” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ใน วันอุโบสถวันนั้นว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าทุกชิ้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของ ใดๆ ในที่ไหนๆ’ แต่บิดาและมารดาของเขารู้อยู่ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรของเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “ท่านเหล่านี้เป็นบิดาและมารดาของเรา” อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

“ผู้นี้เป็นสามีของเรา” แม้ตัวเขาก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรและภรรยาของเรา” พวกทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นนายของพวกเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “คน เหล่านี้เป็นทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดของเรา” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนในการ พูดเท็จในเวลาที่ควรชักชวนในการพูดคำสัตย์ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรม นี้ของผู้นั้นว่าเป็นมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมนี้ของผู้นั้นว่าเป็นอทินนาทาน วิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างนี้แล นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๒) อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร คือ ๑. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่ออริยสาวกระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิต๑- เสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำศีรษะที่เปี้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยตะกรัน๒- ดินเหนียว น้ำและอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำศีรษะที่เปื้อนให้ สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ- @กุกกุจจะ และวิจิกิจฉา (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๗) @ ตะกอนที่จับเกรอะอยู่ก้นภาชนะ ในที่นี้หมายเอาตะกรันมะขามป้อม (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่อเธอระลึกถึง ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาพรหมอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับพรหม และเพราะปรารภ พรหม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ก) ๒. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า ๊พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้ มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๒- ควร เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเชือก ผงอาบน้ำ และ อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกายที่เปื้อนให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ @เชิงอรรถ : @ พรหมอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาโดยระลึกถึงพระคุณของสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า “พรหม” ในที่ @นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ @ผู้ปฏิบัติทุกเวลาทุกโอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาธัมมอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับธรรม และเพราะปรารภธรรม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ข) ๓. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความ ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ความเพียร การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำผ้าที่เปื้อนให้ สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึง @เชิงอรรถ : @ ธัมมอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาปรารภโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) @ ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล @(๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล (๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค @(๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค (อภิ.ปุ. ๓๖/๒๐๗/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาสังฆอุโบสถ๑- อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และเพราะปรารภสงฆ์ จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ค) ๔. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไป เพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปรง และ อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกระจกเงาที่มัวให้ใส ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลของตนอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาสีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และเพราะปรารภศีล จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง แห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่าง นี้แล (๓ ฆ) @เชิงอรรถ : @ สังฆอุโบสถ หมายถึงอุโบสถที่รักษาปรารภอริยบุคคล ๘ จำพวก (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๑/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

๕. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ ทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม เกลือ ยางไม้ คีมและความพยายามที่เหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำทองที่หมองให้สุกใส ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น ดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็ มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาเทวตาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะปรารภเทวดา จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ง) อริยสาวกนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่า สัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์ เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และ รักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือรับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาด จากการลักทรัพย์ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็น คนสะอาด อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตาม พระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑- คือประพฤติ พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เรา ก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจาก เมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์ แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือพูดแต่คำสัตย์ ดำรงความ สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละ @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม คือกิจ @ของคนคู่ การร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๑๘๙/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่า ทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑- อัน เป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉัน อาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดู การละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวง ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอด ชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดูการละเล่นอัน เป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของ หอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและ คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจาก ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วย หญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระ อรหันต์และรักษาอุโบสถ @เชิงอรรถ : @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่ @เชื้อ (๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ @(๓) เครื่องดองน้ำอ้อย (๔) เครื่องดองน้ำผึ้ง (๕) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. ๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมาก เพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้ ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึง เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรี นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรี หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลัง จากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรา กล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น กำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติตถายตนสูตร ๒. ภยสูตร ๓. เวนาคปุรสูตร ๔. สรภสูตร ๕. เกสปุตติสูตร ๖. สาฬหสูตร ๗. กถาวัตถุสูตร ๘. อัญญติตถิยสูตร ๙. อกสลมูลสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๙-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=115              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=5421&Z=5666                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=510              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=510&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4998              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=510&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4998                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.070.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-071.html https://suttacentral.net/an3.70/en/sujato https://suttacentral.net/an3.70/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :