ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑. โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบ
[๑๓๔] นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ นักรบอาชีพในโลกนี้ ๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด ๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะ แก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด ๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้ ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๒. ปริสาสูตร

ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นสัญญาอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็น สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ ใช่ตัวตนของเรา” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล ภิกษุยิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุ เกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์)” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกาย ขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๘๓-๓๘๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=178              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=7483&Z=7511                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=573              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=573&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6294              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=573&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6294                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i573-e.php# https://suttacentral.net/an3.133/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :