ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๘. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และคนกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์๑- แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย วรรณะ๒- ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เชาวน์ ในที่นี้หมายถึงญาณ คือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) @ วรรณะ ในที่นี้หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย @ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขลุงกสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๘๗-๓๘๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=185              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=7563&Z=7603                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=580              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=580&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6333              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=580&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6333                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i573-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an3.140/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :