ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. ปุคคลวรรค

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
[๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๑- เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย (๑) [๕๔] บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์๒- บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๒) [๕๕] การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอย เดือดร้อนไปด้วย @เชิงอรรถ : @ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก หมายถึงเพราะพระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @ได้สมบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) มนุษยสมบัติ สมบัติในมนุษย์ (๒) เทวสมบัติ สมบัติในสวรรค์ และเพราะ @พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้สมบัติ ๓ อย่าง คือ (๑) มนุษยสมบัติ @สมบัติในมนุษย์ (๒) เทวสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (๓) นิพพานสมบัติ สมบัติคือพระนิพพาน @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๓/๕๘, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๕๓/๕๗) @ เป็นอัจฉริยมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงเป็นบุคคลที่หาได้ยากไม่ปรากฏทั่วไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

การตายของบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน ไปด้วย (๓) [๕๖] ถูปารหบุคคล๑- ๒ จำพวกนี้ ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล (๔) [๕๗] พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล (๕) [๕๘] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ช้างอาชาไนย สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๖) [๕๙] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ม้าอาชาไนย สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๗) [๖๐] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ถูปารหบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ควรแก่การสร้างสถูปบรรจุพระธาตุไว้ (องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๕๖/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. พญาราชสีห์ สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๘)
เหตุที่กินนรไม่พูดภาษาคน
[๖๑] กินนร๑- เห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้จึงไม่พูดภาษาคน อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่กล่าวตู่ผู้อื่นด้วยเรื่องไม่จริง กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงไม่พูดภาษาคน (๙)
สิ่งที่มาตุคามไม่อิ่ม
[๖๒] มาตุคาม(สตรี)ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการจนกระทั่งตาย ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การเสพเมถุนธรรม๒- ๒. การคลอดบุตร มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แลจนกระทั่งตาย (๑๐)
การอยู่ร่วมกัน ๒ แบบ
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและการอยู่ร่วม กันของสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ กินนร แปลว่า “คนอะไร” หมายถึงเป็นอมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด คือชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก @ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หาง @บินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๑/๕๘, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ หน้า ๙๙-๑๐๐) @ การเสพเมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือ การเสพอสัทธรรมอันเป็น @ประเวณีของชาวบ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ @(วิ.มหา. ๑/๕๕/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ๑- ก็ไม่ควร ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ๒- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ๓- ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ ของเขา” แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้ เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน” การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ @ขึ้นไป และรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น @ พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าพระปูนกลาง คือมีพรรษา @ตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ @ พระนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่ มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ @ที่ยังต้องถือนิสสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค

คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน” แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่ เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ ตามคำสอนของท่าน” การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (๑๑)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๖๔] ในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบกันด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมี ใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผล ตามมาดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความ ร้ายแรง๑- และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓,๔,๕ ทุกนิบาต ข้อ ๑๕ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมีใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับไปด้วยดีภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผลตามมา ดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก (๑๒)
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๙๗-๑๐๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=1991&Z=2087                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=297              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=297&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1316              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=297&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1316                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i297-e.php# https://suttacentral.net/an2.52-63/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :