ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. อาสาทุปปชหวรรค
หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก
[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละได้ยาก ความหวัง ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความหวังในลาภ ๒. ความหวังในชีวิต ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก (๑) [๑๒๐] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน) ๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน) บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๒) [๑๒๑] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่อิ่มเอง๑- ๒. คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม๒- บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๓) [๑๒๒] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก (๔) @เชิงอรรถ : @ คนที่อิ่มเอง หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพุทธเจ้า @และพระขีณาสพ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕) @ คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

[๑๒๓] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ไม่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่ไม่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย (๕) [๑๒๔] ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุภนิมิต๑- (นิมิตงาม) ๒. อโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย) ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้แล (๖) [๑๒๕] ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิฆนิมิต๒- (นิมิตให้ขัดเคือง) ๒. อโยนิโสมนสิการ ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้แล (๗) [๑๒๖] ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปรโตโฆสะ๓- (เสียงจากผู้อื่น) ๒. อโยนิโสมนสิการ ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๘) [๑๒๗] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปรโตโฆสะ๔- ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๙) @เชิงอรรถ : @ สุภนิมิต หมายถึงอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๔/๖๖) @ ปฏิฆนิมิต หมายถึงอนิฏฐนิมิต คืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๕/๖๖) @ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๖/๖๖) @ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังพระสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๒๘] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติเบา ๒. อาบัติหนัก๑- อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๐) [๑๒๙] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติชั่วหยาบ ๒. อาบัติไม่ชั่วหยาบ๒- อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๑) [๑๓๐] อาบัติ ๒ อย่างนี้ อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อาบัติที่มีส่วนเหลือ๓- ๒. อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ๔- ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
อาสาทุปปชหวรรคที่ ๑ จบ
๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ ภิกษุสาวกของเรา (๑) @เชิงอรรถ : @ อาบัติหนัก คือปาราชิก และสังฆาทิเสส อาบัติเบา คือถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติชั่วหยาบ คือปาราชิกและสังฆาทิเสส อาบัติไม่ชั่วหยาบ คืออาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ @ อาบัติที่มีส่วนเหลือ หมายถึงอาบัติที่เป็นสเตกิจฉา (อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้) คือสังฆาทิเสส @ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ หมายถึงอเตกิจฉา (อาบัติที่เยียวยาไม่ได้หรือแก้ไขไม่ได้) คือปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=20&siri=39              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=20&A=2259&Z=2294                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=363              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=363&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1445              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=363&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1445                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i363-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.119.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.125-126.than.html https://suttacentral.net/an2.118-129/en/sujato https://suttacentral.net/an2.118-129/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :