ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๒. ปปติตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ตกจากธรรมวินัย
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ @เชิงอรรถ : @ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๑๘๖/๑๖๙, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๒. ปปติตสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๒. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๓. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๔. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไป๑- จากธรรมวินัยนี้’ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๒. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๓. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ๔. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ‘ผู้ ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’ ผู้เคลื่อนจากธรรมวินัย๒- นี้ย่อมตกไป ผู้ตกไปและกำหนัดเพราะราคะต้องกลับมา๓- อีก เมื่อทำกิจที่ควรทำ ยินดีสิ่งที่ควรยินดี จะบรรลุสุขด้วยสุข๔-
ปปติตสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่ตกไป หมายถึงผู้มั่งคงในธรรมวินัย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒/๒๗๙) @ เคลื่อนจากธรรมวินัยนี้ ในที่นี้หมายถึงผู้ตกไปจากอริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒/๒๘๐) @ ต้องกลับมาอีก ในที่นี้หมายถึงกลับมาสู่ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะอีก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒/๒๘๐) @ บรรลุสุขด้วยสุข หมายถึงบรรลุทิพยสุขด้วยสุขอันเป็นของมนุษย์, บรรลุวิปัสสนาสุขด้วยฌานสุข, บรรลุ @มัคคสุขด้วยวิปัสสนาสุข, บรรลุผลสุขด้วยมัคคสุข, บรรลุนิพพานสุขด้วยผลสุข (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒/๒๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒-๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=21&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=21&A=27&Z=41                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=2              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=2&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6466              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=2&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6466                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta2 http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta2 https://suttacentral.net/an4.2/en/sujato https://suttacentral.net/an4.2/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :