ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๔. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๒
[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น อสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในมารดา ย่อม บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ๒. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบิดา ฯลฯ ๓. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในตถาคต ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ นิรัพพุกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา (การกำหนดนับ) จำนวนสูง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) พจนานุกรม @ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๔. ทุติยขตสูตร

๔. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในสาวกของตถาคต ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในมารดา ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก ๒. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบิดา ฯลฯ ๓. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในตถาคต ฯลฯ ๔. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในสาวกของตถาคต ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก นรชนผู้ปฏิบัติผิดในมารดาบิดา ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น ย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะการไม่ประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้แล เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่อบาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๕. อนุโสตสูตร

ส่วนนรชนผู้ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก เพราะการประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้แล เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงบันเทิงในสวรรค์
ทุติยขตสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕-๗. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=21&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=21&A=74&Z=100                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=4              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=4&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6491              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=4&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6491                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta4 http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta4 https://suttacentral.net/an4.4/en/sujato https://suttacentral.net/an4.4/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :