ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๔. ทุติยสังวาสสูตร

๔. ทุติยสังวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน สูตรที่ ๒
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้ การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี ๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา ๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี ๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูด ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็น มิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครอง เรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็น มลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการ พูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็น มลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยา เทวดา เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๔. ทุติยสังวาสสูตร

สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความ ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยา ของเขา เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียน สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจปราศจากความ ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยา ของเขาก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้แล สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นผู้ทุศีล ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์ ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน สามีเป็นผู้ทุศีล ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์ ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี สามีเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์ ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๕. ปฐมสมชีวีสูตร

สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้ มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ทุติยสังวาสสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๙๑-๙๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=21&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=21&A=1602&Z=1641                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=54              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=54&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8102              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=54&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8102                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e.php#sutta4 http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e2.php#sutta4 https://suttacentral.net/an4.54/en/sujato https://suttacentral.net/an4.54/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :