ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล๓- ตามกาลอันควร ๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล๔- ตามกาลอันควร ๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร ๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควร @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม ๙ @ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖) @ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน @พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑) @ มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม @หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) @ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่ @ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร

๕. ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มี อุเบกขา๑- มีสติสัมปชัญญะอยู่ตามกาลอันควร ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา” ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา” ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์อะไร ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา” ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์อะไร ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้ว่า “ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความกำหนัดในธรรมเป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา” @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้มีอุเบกขา ในที่นี้หมายถึงดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง กล่าวคือมีปกติภาวะที่บริสุทธิ์ไม่ดีใจไม่เสีย @ใจในอารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ @น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) อุเบกขานี้เรียกว่า ฉฬังคุเบกขา เป็น @เหมือนอุเบกขาของพระขีณาสพ แต่มิใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖, @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๔๔-๖/๖๑, วิสุทฺธิ. ๑/๘๔/๑๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๕. นิรยสูตร

ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็น เหตุให้กำหนัดในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มี ประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความหลงในธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ติกัณฑกีสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=144              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=3949&Z=3985                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=144              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=144&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1261              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=144&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1261                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i141-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an5.144/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :