ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๓-
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้ อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) ๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม) @เชิงอรรถ : @ ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓) @และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓/๑๔๒) @ มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓) @มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร

ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อเห็นช้างแก้วบ้าง ไปเพื่อเห็นม้าแก้วบ้าง ไปเพื่อเห็นแก้วมณีบ้าง ไปเพื่อเห็นของสูงของต่ำบ้าง หรือไปเพื่อเห็นสมณะหรือ พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการเห็นนี้ยังเป็นการเห็นที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ อริยะ๑- ไม่ประกอบด้วยประโยชน์๒- ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด๓- มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้ของ บุคคลนั้น เป็นการเห็นที่ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้ สวนานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงพิณบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงเพลงขับบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงสูงเสียงต่ำบ้าง หรือไปเพื่อฟังธรรมของ @เชิงอรรถ : @ ไม่ใช่อริยะ ในที่นี้หมายถึง ไม่ประเสริฐ ไม่สูงสุด ไม่บริสุทธิ์ อันพระอริยะทั้งหลายไม่เสพ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๓๐/๑๒๘) @ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่ไพบูลย์ต่างๆ เช่นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ @(ประโยชน์ภพนี้) และสัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในภพหน้า) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๓๐/๑๒๘) @ บรรลุที่สุด ในที่นี้หมายถึงถึงความไม่หวั่นไหว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร

สมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่ กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการฟังนี้ ยังเป็นการฟังที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้ ของบุคคลนั้น เป็นการฟังที่ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้ ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้บุตรบ้าง ได้ภรรยาบ้าง ได้ทรัพย์บ้าง ได้ของสูง ของต่ำบ้างหรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ ทั้งหลาย การได้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการได้นี้ยังเป็นการได้ที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การได้นี้ของ บุคคลนั้นเป็นการได้ที่ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร

การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างนี้ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับ ม้าบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับรถบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับธนูบ้าง ศึกษาศิลปะ เกี่ยวกับดาบบ้าง ศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือศึกษาศิลปะจากสมณะหรือ พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การศึกษานั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศไว้ การศึกษานี้ของบุคคลนั้นเป็นการศึกษาที่ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษา ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศไว้ นี้เรียกว่า สิกขานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างนี้ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้บำรุงกษัตริย์บ้าง บำรุงพราหมณ์บ้าง บำรุงคหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ ทั้งหลาย การบำรุงนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการบำรุงนี้ยังเป็นการบำรุง ที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร

ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็น ไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต การบำรุงนี้ของบุคคลนั้นเป็นการบำรุงที่ ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว ล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้ง นิพพาน การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา- นุตตริยะ เป็นอย่างนี้ อนุสสตานุตตริยะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ระลึกถึงการได้ภรรยาบ้าง ระลึกถึงการได้ทรัพย์บ้าง ระลึกถึงการได้ของสูงของต่ำบ้าง หรือระลึกถึงสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การระลึกนั้นมีอยู่ เราไม่ กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการระลึกนี้ยังเป็นการระลึกที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไป เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง ระลึกถึงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ของ บุคคลนั้น เป็นการระลึกถึงที่ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความ บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส อย่างยิ่ง นี้เรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ ตั้งมั่นปาริจริยานุตตริยะ เจริญอนุสสตานุตตริยะอันประกอบด้วยวิเวก๑- อันเกษม ให้ถึงอมตธรรม เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ตามกาลอันควร
อนุตตริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุตตริยวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร ๓. ภยสูตร ๔. หิมวันตสูตร ๕. อนุสสติฏฐานสูตร ๖. มหากัจจานสูตร ๗. ปฐมสมยสูตร ๘. ทุติยสมยสูตร ๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร @เชิงอรรถ : @ ทั้ง ๓ คำ คือ วิเวก อมตธรรม และ ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ ในคาถานี้หมายถึงนิพพาน @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๗๑-๔๗๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=281              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=7660&Z=7748                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=301              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=301&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2558              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=301&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2558                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an6.30/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :