ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร
[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี สมัยนั้นแล ภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหาร เสร็จแล้ว นั่งประชุมสนทนาอภิธัมมกถาอยู่ในโรงฉัน๑- ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรก็พูด สอดขึ้นในระหว่าง ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวกับท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า “เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรพูดสอด ขึ้นในระหว่าง ขอให้ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรรอคอยจนกว่าภิกษุผู้เป็นเถระจะสนทนา กันจบ” เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตรได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิกะว่า “แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็ อย่ารุกรานท่านจิตตหัตถิสารีบุตร เพราะท่านจิตตหัตถิสาริบุตรเป็นบัณฑิต และ ท่านสามารถกล่าวอภิธัมมกถากับภิกษุผู้เป็นเถระได้” ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต ของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๘ (ทุติยสมยสูตร) หน้า ๔๖๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

เขาคลุกคลี๑- อยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ด้วยเชือกหรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ โคตัวที่เคยกินข้าวกล้านี้จักไม่ลงกินข้าวกล้าอีก’ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ ที่โคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนั้นพึงดึงเชือกขาดหรือแหกคอกแล้วลงไป กินข้าวกล้าอีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาคลุกคลีอยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ มาเป็นคฤหัสถ์ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เขา กล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนฝนลูกเห็บ ตกที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พึงทำฝุ่นให้หายไป @เชิงอรรถ : @ คลุกคลี ในที่นี้หมายถึงคลุกคลี ๕ อย่าง คือ (๑) คลุกคลีด้วยการฟัง (๒) คลุกคลีด้วยการพบเห็น @(๓) คลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (๔) คลุกคลีด้วยการใช้สอยรวมกัน (๕) คลุกคลีทางกาย @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๐/๑๔๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๐/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่ ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค หรือสัตว์เลี้ยง พึงเหยียบน้ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผา ให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นฝุ่นก็พึงปรากฏอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามและ อกุสลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่ กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ ทุติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืน สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนลูก เห็บตกลงที่บึงใหญ่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม พึงยังหอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยให้หมดไป ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วย จักไม่ ปรากฏในบึงโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค และสัตว์เลี้ยงพึง ดื่มน้ำในบึงโน้น หรือลมแดดพึงแผดเผาให้แห้งไป เมื่อเป็นเช่นนั้น หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยก็พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสใน ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ทุติยฌาน’ แต่ยัง คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ- สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า ‘เราได้ตติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอก คืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน อาหารที่ค้างคืน ไม่พึงยังบุรุษผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีตให้ยินดีได้ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ บุรุษโน้นจักไม่ชอบใจอาหารอีกแน่ ‘ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่อาหารอื่นจักไม่ยังบุรุษโน้นผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีต ให้ยินดีได้ตลอดเวลาที่รสอาหารนั้นจักดำรงอยู่ในร่างกายของเขา แต่เมื่อใด รสอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้นก็พึงยังเขาให้ ยินดีอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า ‘เราได้ตติยฌาน’ แต่คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ โทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยัง คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์ ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนห้วงน้ำใกล้ภูเขาไม่มีลม ปราศจาก คลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คลื่นจักไม่ปรากฏที่ห้วงน้ำ โน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็น เช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันออก ทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้น ลมฝนที่พัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ ทิศเหนือ ฯลฯ ทิศใต้ ก็พึงทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้นได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขา กล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ย่อม บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง จึงบรรลุ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิตอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ เมื่อ เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบพูดคุย ราคะจึง รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้วย่อมบอกคืนสิกขากลับ มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา หรือ มหาอำมาตย์ของพระราชา ยกกองทัพ ๔ เหล่า เดินทางไกลไป พักแรมอยู่ที่แนวป่าแห่งหนึ่ง ในแนวป่านั้น เสียงจักจั่นเรไรพึงเงียบ ไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้อง แห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เสียงจักจั่นเรไรจักไม่ปรากฏที่แนวป่าโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้อง หรือผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ เมื่อใด พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เสด็จหลีกไปจากแนวป่านั้น เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร ก็พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะไม่มนสิการ ถึงนิมิตทั้งปวง บรรลุเจโตสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบพูดคุย ราคะจึงรบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” ต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ พวกภิกษุ ผู้เป็นสหายของจิตตหัตถิสารีบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิกะถึงที่อยู่แล้วถามว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร

“ท่านพระมหาโกฏฐิกะกำหนดรู้ใจบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘บุรุษชื่อจิตต- หัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์’ หรือเทวดาทั้งหลายแจ้งเนื้อความนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อว่า จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์” ท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อว่าจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักบอกคืน สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’ แม้เทวดาก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า” ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้พากันเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร จักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้” ต่อมา ไม่นานนัก จิตตหัตถิสารีบุตรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท๑- มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ไม่ประมาท ในที่นี้หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร

ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย
หัตถิสารีปุตตสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๕๔-๕๖๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=311              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=9239&Z=9367                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=331              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=331&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3259              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=331&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3259                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an6.60/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :