ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล
[๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของแคว้นโกศลชื่อทัณฑกัปปกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง และภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วถามว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค ทรงกำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัต จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ หรือว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้พยากรณ์ไว้ อย่างนี้แล” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมากได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้ามาหาข้าพระองค์แล้วถามว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรง กำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจะ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้’ เมื่อภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มี พระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุรูปนั้นคงเป็นภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลา ไม่เฉียบแหลม เพราะข้อที่เราพยากรณ์ว่าเป็นหนึ่ง จักเป็นสองได้อย่างไร อานนท์ เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนหนึ่ง ซึ่งเรากำหนดรู้เหตุ ทั้งหมดด้วยใจแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้เหมือนเทวทัตเลย ตราบใดเราเห็นธรรมฝ่าย ขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า ‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ แต่เมื่อเราไม่เห็น ธรรมฝ่ายขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย เมื่อนั้นเราจึงพยากรณ์ เทวทัตนั้นว่า ‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ อานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกชั่วคน เต็มด้วยคูถเสมอขอบปากหลุม บุรุษพึงตกลงไปที่หลุมคูถนั้นจมมิดศีรษะ บุรุษบางคนหวังประโยชน์ หวังเกื้อกูล หวังความปลอดภัย ใคร่จะยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น จึงเข้ามาหา เขาเดินรอบหลุม คูถนั้นอยู่ ก็ไม่เห็นอวัยวะที่ไม่เปื้อนคูถ แม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายซึ่งพอจะ จับยกขึ้นมาได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดไม่ได้เห็นธรรมฝ่ายขาวของ เทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายเลย เมื่อนั้น เราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า ‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ ถ้าเธอทั้งหลาย พึงฟังตถาคต เราจักจำแนกญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกญาณเป็นเครื่อง รู้อินทรีย์ของบุคคล ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า อานนท์ ๑. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

กุศลมูลนั้น กุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อม ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลมแดดแผดเผา ที่คัดพันธุ์ไว้๑- เก็บไว้อย่างดี ซึ่งบุคคล ปลูกไว้ในที่ดินอันพรวนดีแล้วในนาดี เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืช เหล่านี้จักเจริญงอกงามไพบูลย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แล มีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้แล หายไป อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ กุศลมูลนั้น กุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึง รู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกัน เกิดขึ้นต่อไป อย่างนี้แล ๒. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป กุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ อกุศลมูลนั้น อกุศลมูลของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อม*** ต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลมและแดดแผดเผา ที่คัดพันธุ์ไว้ เก็บไว้อย่างดี ซึ่งบุคคลปลูกไว้บนศิลาแท่งทึบ เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืชเหล่านี้ จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์” @เชิงอรรถ : @ คัดพันธุ์ไว้ หมายถึงพืชที่เขาเก็บเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไว้ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงพืชที่เกิดในเดือนสารทะ @คือ ฤดูใบไม้ร่วง (สาราทานีติ สรทมาเส วา นิพฺพตฺตานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๒/๑๔๘, @องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๖๒/๑๖๕-๑๖๖) @ @*** ตรวจสอบกับฉบับจริงที่เป็นเล่มหนังสือแล้ว ข้อความส่วนนี้ในเว็บธัมมโชติตรงกับฉบับมหาจุฬาฯ (ปกสีฟ้า) ที่เป็นหนังสือทุกตัวอักษร @แต่ในฉบับมหามกุฏฯ (ปกสีน้ำตาล) เป็น "จักเป็นผู้เสื่อม" ซึ่งต่างจากฉบับของมหาจุฬาฯ ที่เป็น "จักเป็นผู้ไม่เสื่อม" @ถ้าจะวิเคราะห์ว่าข้อความในฉบับไหนน่าจะเหมาะสมกว่ากัน ถ้าดูในส่วนเปรียบเทียบตอนท้ายที่ว่า "เมล็ดพืชเหล่านี้ จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์" ก็จะเห็นว่าความหมายตรงกับ "จักเป็นผู้เสื่อม" ในฉบับมหามกุฏฯ @และถ้าดูในตอนท้ายของข้อเดียวกันในหน้าถัดไปของฉบับมหาจุฬาฯ เอง ที่ว่า "แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะอกุศลมูลนั้น อกุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา" ก็จะเห็นชัดเจนว่าข้อความที่ถูกต้องควรเป็น "จักเป็นผู้เสื่อม" ตามฉบับของมหามกุฎฯ - หมายเหตุโดยธัมมโชติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่” สมัย ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้แลหาย ไปแล้ว กุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ อกุศลมูลนั้น อกุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการอย่างนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจ จึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัย กันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล ๓. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ธรรมขาวแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลาย ขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำ อย่างเดียว หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่หัก เน่า ถูกลมและแดดแผดเผา ซึ่งบุคคล ปลูกไว้ในดินซึ่งพรวนดีแล้วในนาดี เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืช เหล่านี้จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ธรรมขาวแม้เท่ารอยเจาะแห่ง ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึง รู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถที่จะบัญญัติบุคคลอีก ๓ จำพวกที่มีส่วน เหมือนกับบุคคล ๓ จำพวกนี้หรือหนอ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราสามารถ ๔. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้กุศล- มูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็น ธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ลุกโพลงรุ่งโรจน์ โชติช่วง ซึ่งบุคคลวางไว้บนศิลาก้อนใหญ่ เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟ เหล่านี้จักไม่ลุกลาม ขยายกว้างออกไป” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์ตกไปในเวลา เย็น เธอทราบไหมว่า ‘ความสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้น” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลารับ ประทานอาหารในเวลาเที่ยงคืน เธอทราบไหมว่า ‘ความสว่างหายไป ความมืด ปรากฏขึ้น” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว อกุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้กุศลมูลนั้นก็ถึงความ ถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลคนนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้ อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป อย่างนี้แล ๕. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว กุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้ อกุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้ก็จักเป็นผู้ไม่เสื่อม ต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ ลุกโพลง รุ่งโรจน์ โชติช่วง ซึ่งบุคคลวางไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบน กองไม้แห้ง เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟเหล่านี้จักลุกลามขยายกว้าง ออกไป” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมาใน เวลารุ่งอรุณ เธอทราบไหมว่า ‘ความมืดหายไป ความสว่างปรากฏขึ้น” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลารับ ประทานอาหารในเวลาเที่ยงวัน เธอทราบไหมว่า ‘ความมืดหายไป ความสว่าง ปรากฏขึ้น” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้หาย ไปแล้ว กุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้อกุศลมูลนั้น ก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการ อย่างนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณ เป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ต่อไปอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร

๖. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้แม้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่ มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปริพพานในปัจจุบัน แน่นอน’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น ดับแล้ว ซึ่งบุคคลวางไว้บน กองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟนี้จักไม่ ลุกลามขยายกว้างออกไป” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นธรรม ฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันแน่นอน กำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล อย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนด ใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล อานนท์ บรรดาบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกแรก คือ คนหนึ่งเป็น ผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งเกิดในอบาย และตกนรก บรรดาบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกหลัง คือ คนหนึ่งเป็น ผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งจักปรินิพพาน เป็นธรรมดา”
ปุริสินทริยญาณสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๖๔-๕๗๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=313              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=9443&Z=9610                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=333              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=333&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3325              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=333&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3325                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an6.62/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :