ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. เทวตาสูตร
ว่าด้วยเทวดาแสดงธรรม
[๖๙] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๕. เทวตาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น ทราบว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าว กับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ’ ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นแล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่ง พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๕. เทวตาสูตร

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ ในศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริง ของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร ๒. ตนเองเป็นผู้มีความมีเคารพในพระธรรม ฯลฯ ๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ๕. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ๖. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาล อันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ดีละ ดีละ เป็นการดีที่เธอรู้เนื้อความแห่ง คำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในพระ ศาสดาให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุ เหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร ๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ ๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ๕. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๗. เทวตาวรรค ๖. สมาธิสูตร

๖. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตร ตามกาล อันควร สารีบุตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”
เทวตาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๘๘-๕๙๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=320              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=9915&Z=9960                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=340              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=340&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3423              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=340&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3423                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i336-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an6.69/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :