ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สัญญาวรรค ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร

๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ เราได้เจริญ ๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๕. ความขะมักเขม้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรมมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ นี้ เราจึงได้น้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆเมื่อมีเหตุ๑- เราจึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ ฯลฯ๒- ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เราจึง บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ฯลฯ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมีเหตุ เรา จึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ๓-
ทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้ @ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘-๓๐ ในเล่มนี้ @ ในสูตรนี้นอกจากพระองค์จะทรงแสดงอิทธิบาทที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุปฏิเวธที่ควงไม้โพธิ์แล้ว ยังได้ @ทรงแสดงอภิญญา ๔ ประการที่พระองค์บรรลุ เพิ่มเติมอีกด้วย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=1915&Z=1931                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=68              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=68&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=756              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=68&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=756                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i061-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an5.68/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :