ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. เถรสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นรัตตัญญู๑- บวชมานาน ๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ บรรพชิต ๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร @เชิงอรรถ : @ รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้ @ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒) @แต่ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ผ่านมาหลายราตรี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร

๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี ด้วยทิฏฐิ ๕. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออก จากสัทธรรมให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒- คนหมู่มากพากันตามอย่างเธอ ด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง ‘เป็น ภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย @รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา @ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถาพุทธอุทาน) @(๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์) @(๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑) @ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ @อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นรัตตัญญู บวชมานาน ๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี ด้วยทิฏฐิ ๕. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มาก ออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม คนหมู่มากพากันตาม อย่างเธอด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวก คฤหัสถ์และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เถรสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๕๖-๑๕๘. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=2618&Z=2655                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=88              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=88&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=958              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=88&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=958                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i081-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an5.88/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :