ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัยแล้วบิดกาย ชำเลืองดูรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ บรรลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน พญา- ราชสีห์นั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับกระบือ ก็จับได้ แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับโค ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับเสือเหลือง ก็จับได้ แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับพวกสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดแม้กระต่ายและแมว ก็จับได้ แม่นยำ ไม่พลาดทีเดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพญาราชสีห์นั้นคิดว่า “ช่องทาง หากินของเราอย่าเสียไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค ๙. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อาการที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาท๑- ของตถาคตแท้ คือ ตถาคต ๑. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ๒- ไม่แสดง โดยไม่เคารพ ๒. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง โดยไม่เคารพ ๓. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง โดยไม่เคารพ ๔. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง โดยไม่เคารพ ๕. แม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย ไม่เคารพ โดยที่สุดแม้จะแสดงแก่คนขอทานและพรานนก๓- ก็แสดง โดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพธรรม
สีหสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ สีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่นพระทัย @ในศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๔๐๓/๔๓๒) @ คำว่า โดยเคารพ แปลจากคำว่า “สกฺกจฺจํ” ในที่นี้หมายถึงความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องสำคัญ @ดุจในประโยคว่า “วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ” แปลว่า “จ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง” (วิ.ม. ๕/๒๕๕/๑๙) @และเทียบ ที.ปา.อ. ๒๖๘/๑๔๗, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๔/๕๙ @ ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๙/๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๖๘-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=22&siri=99              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=2801&Z=2819                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=99              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=99&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1004              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=99&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1004                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i091-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an5.99/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :