ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๔. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ๑. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส๒- แต่ไม่ เห็นรูปทั้งหลาย ๒. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ๓- นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๓/๒๗๐) @ โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ ๘ คือ (๑) ทิพพจักขุ- @ญาณ (๒) อิทธวิธญาณ (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ยถากัมมูปคญาณ (๕) อนาคตังสญาณ (๖) ปัจจุปปันนังส- @ญาณ (๗) อตีตังสญาณ (๘) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัย กับเทวดาเหล่านั้น ๓. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณ- ทัสสนะนี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับ เทวดาเหล่านั้น แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดานี้มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ ๔-๗. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายโน้นๆ’ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ ฯลฯ รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจาก ภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วย วิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์ อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ แต่ไม่รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นาน อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

๘. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายโน้นๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่ง กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์ อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จักเทวดา เหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้ นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคย อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ อธิเทวญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับเทวดาผู้ยิ่ง)ของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอด เยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อธิเทวญาณทัสสนะของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’
คยาสีสสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=23&siri=137              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=23&A=6368&Z=6419                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=161              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=161&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6066              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=161&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6066                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i151-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an8.64/en/sujato https://suttacentral.net/an8.64/en/hare



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :