ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๓. เมฆิยสูตร
ว่าด้วยพระเมฆิยะ๑-
[๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกาบรรพต๒- เขตเมือง จาลิกา สมัยนั้น ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค๓- ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ปรารถนาจะเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เธอจง กำหนดเวลาที่ควร ณ บัดนี้เถิด” ครั้นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง ชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไป ตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อน อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็น ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร ถ้าพระ ผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียร ในป่ามะม่วงนี้” @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๑/๑๓๙ @ ที่ชื่อว่า จาลิกา เพราะเป็นภูเขาที่ปรากฏแก่ผู้แลดูในวันอุโบสถข้างแรม(กาฬปักษ์) ว่าเหมือนกับกำลังเคลื่อนไหว @ทั้งนี้เนื่องจากภูเขานี้มีสีขาวล้วนทั้งลูกซึ่งตัดกับความมืดในเวลากลางคืน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๖-๒๘๗) @ พระเมฆิยเถระ เป็นพระอุปัฏฐากอีกรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค เนื่องจากในต้นพุทธกาล (๒๐ พรรษาแรก) @พระผู้มีพระภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวได้พระนาคสมาละ บางคราวได้พระนาคิตะ บางคราวได้ @พระอุปวาหนะ บางคราวได้พระสุนักขัตตะ บางคราวได้พระสาคตะ บางคราวได้สามเณรจุนทะ @(ขุ.อุ.อ. ๓๑/๒๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๓. เมฆิยสูตร

ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่า รื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียรโดยแท้ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนี้’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญเพียรในป่า มะม่วงนั้น” เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านดัง นี้ว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา”๑- แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก๒- ทั้งไม่มีการ สั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓- ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสม กิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา” @เชิงอรรถ : @ นัยว่าพระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระประสงค์ที่จะประวิงเวลารอให้จิตของท่านพระเมฆิยะอ่อน @โยนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗) @ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิจ ๔ อย่างในอริยสัจ ๔ ประการ กิจ ๔ อย่างนั้น @คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุเกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้ง @ความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อน @อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่ต้องเจริญมรรคที่เจริญได้แล้ว และไม่ต้องละกิเลสที่ละได้แล้วอีก @(องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๓. เมฆิยสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งไม่มีการ สั่งสมกิจที่ทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่ง สมกิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะพึง ว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะ ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น อาศัยป่ามะม่วงนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วงต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่ ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาปาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นโดยมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้” ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น โดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เราออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๓. เมฆิยสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็น สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ที่เป็นไป เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ให้กุศลธรรมเกิด เป็นผู้มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่เป็นไป เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่เป็นไป เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๔. นันทกสูตร

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป คือ ๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ ๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท ๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก ๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน”
เมฆิยสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๓๐-๔๓๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=23&siri=166              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=23&A=7531&Z=7618                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=207              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=207&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6445              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=207&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6445                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an9.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :