ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. นาคสูตร
ว่าด้วยการหาความสงบของพญาช้าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าขวนขวายเที่ยวหากินอยู่ เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก เดินไปข้างหน้าๆ ทำลาย ยอดหญ้า พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่า ขวนขวายเที่ยวหากินอยู่ เหล่า ช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็กต่างก็พากันกินกิ่งไม้ที่หักลงมา พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าลงสู่ท่าน้ำ เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็กต่างก็เดินไปข้างหน้าๆ ใช้งวงกวนน้ำให้ขุ่น พญาช้างที่อยู่ในป่า ย่อม อึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้าง ที่อยู่ในป่า ขึ้นจากท่าน้ำแล้ว ช้างพังย่อมเดินเสียดสีกายไป พญาช้างที่อยู่ในป่า ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่าได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๙. นาคสูตร

ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเรา ขึ้นจากท่าน้ำ ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากโขลงไปอยู่ ผู้เดียว‘๑- ต่อมา พญาช้างนั้นได้หลีกออกจากโขลงไปอยู่ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่ตนหักลงมา ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นขึ้น จากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่ามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราขึ้น จากท่าน้ำ ก็ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป บัดนี้ เรานั้นได้หลีกออกจากโขลงมาอยู่ ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ ไม่ขุ่น และเมื่อเราขึ้นจากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป’ พญาช้างนั้นใช้งวง หักกิ่งไม้ ใช้กิ่งไม้ปัดกาย มีใจเบิกบาน บำบัดโรคคัน ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุอยู่พลุกพล่านไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และพวก สาวกของเดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราแลอยู่พลุกพล่าน ไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และพวกสาวกของเดียรถีย์ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว’ เธอใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่กลางแจ้ง ลอมฟาง’ เธอไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี หรือไปสู่เรือนว่างก็ดี ย่อมนั่งคู้ บัลลังก์๒- ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓- @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๕/๑๔๘ @ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้งสองข้าง เรียกว่านั่งสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๙. นาคสูตร

เธอละอภิชฌาในโลกได้ มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาทได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล ต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา(กำหนดหมายแสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ภายในอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศล ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอมีใจเบิกบาน บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เธอมีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอมีใจเบิกบาน บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนด ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่๑- ฯลฯ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอเป็นผู้มีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
นาคสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๒๐-๕๒๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=23&siri=203              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=23&A=9302&Z=9349                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=244              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=244&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7067              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=244&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7067                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.040.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/09/an09-040.html https://suttacentral.net/an9.40/en/sujato https://suttacentral.net/an9.40/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :