ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๓. นคโรปมสูตร
ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)ของพระราชา เป็นนครที่ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ และได้อาหาร ๔ อย่าง ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันต- นครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) @ จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ คือ (๑) จักษุ (ตาเนื้อ) (๒) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (๓) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) @(๔) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙) @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๖๙, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

ปัจจันตนครชื่อว่าป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้อง กันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง ป้องกันนครประการที่ ๑ นี้ ๒. ปัจจันตนครของพระราชามีคูลึกและกว้าง ปัจจันตนครของพระราชา ชื่อว่าป้องกันดีเพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ นี้ ๓. ปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง ปัจจันต นครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน อันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ นี้ ๔. ปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ แหลมยาวและอาวุธมีคม ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง ป้องกันนครประการที่ ๔ นี้ ๕. ปัจจันตนครของพระราชามีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พล ม้า พลรถ พลธนู หน่วยเชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิ- การ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหารเกราะหนัง หน่วยทหารทาส ปัจจันตนครของพระราชา ชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ นี้ ๖. ปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป ปัจจันตนครของ พระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย ภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ นี้ ๗. ปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ ถือปูนดี ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ นี้ อาหาร ๔ อย่างที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ ๑. ปัจจันตนครของพระราชานี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของ ประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ๒. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี และข้าวเหนียว ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก ของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ๓. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความ อยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ๔. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่ สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกัน อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้แล ที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วย เครื่องป้องกันนคร ๗ ประการนี้ และได้อาหาร ๔ ประการนี้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริย- สาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑- เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธาเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญ กุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๑ นี้ ๒. อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือนปัจจันตนคร ของพระราชา มีคูลึกและกว้าง เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเหมือนคู ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการ ที่ ๒ นี้ ๓. อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือน ปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เพื่อ คุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเหมือนทางเดินรอบกำแพง ย่อมละอกุศล @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้ บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๓ นี้ ๔. อริยสาวกเป็นพหูสูต ฯลฯ๑- แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เปรียบเหมือน ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ แหลมยาวและอาวุธมีคม เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๔ นี้ ๕. อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี กองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู หน่วย เชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิการ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหาร เกราะหนัง หน่วยทหารทาส เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย ภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๕ นี้ ๖. อริยสาวกเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ เปรียบเหมือนปัจจันต- นครของพระราชา มีทหารยามฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา คอยกัน คนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เพื่อคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ เหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

ธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ ๖ นี้ ๗. อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนปัจจันตนคร ของพระราชา มีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกถึงพร้อมด้วยปัญญาเหมือนป้อมที่ก่ออิฐถือปูนดี ย่อมละ อกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหาร ตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๗ นี้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่อริยสาวก ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ๑- เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก ของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของ พระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อ ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ ป้องกันอันตรายภายนอก ๒. อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ๒- เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีการ สะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่ สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ ป้องกันอันตรายภายนอก @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๓. นคโรปมสูตร

๓. อริยสาวก เพราะปีติคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ๑- เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่ สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และป้องกัน อันตรายภายนอก ๔. อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ๒- เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่ สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ เหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อ ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายในและ ป้องกันอันตรายภายนอก ฌาน ๔ ประการนี้อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อริยสาวก ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนี้ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราจึงเรียก อริยสาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
นคโรปมสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓๖-๑๔๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=23&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=23&A=2260&Z=2384                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=64              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=64&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4465              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=64&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4465                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.063.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/07/an07-067.html https://suttacentral.net/an7.67/en/sujato https://suttacentral.net/an7.67/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :