ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๔. ธัมมัญญูสูตร

๔. ธัมมัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ๑- นี้ เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นธัมมัญญู ๒. เป็นอัตถัญญู ๓. เป็นอัตตัญญู ๔. เป็นมัตตัญญู ๕. เป็นกาลัญญู ๖. เป็นปริสัญญู ๗. เป็นปุคคลปโรปรัญญู๒- ภิกษุเป็นธัมมัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่รู้ธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละเลย เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นอัตถัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ความหมายแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแลว่า ‘นี้เป็นความหมาย แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ หากภิกษุไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ เลยว่า ‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ เราไม่พึง @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒ @ ปุคคลปโรปรัญญู หมายถึงรู้จักเลือกคน กล่าวคือรู้ว่า เมื่อคบหาคนใดอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น @จึงเลือกคบคนนั้น เมื่อคบคนใดอกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ก็ไม่คบคนนั้น @(องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๘/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๔. ธัมมัญญูสูตร

เรียกเธอว่า ‘เป็นอัตถัญญู‘ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ความหมายแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า ‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียก เธอว่า เป็นอัตถัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นอัตตัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ หากภิกษุไม่รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นอัตตัญญู ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่า เป็นอัตตัญญู ภิกษุ ชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นมัตตัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร๑- หากภิกษุไม่รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นกาลัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทส๒- นี้เป็นกาลแห่ง ปริปุจฉา๓- นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ หากภิกษุไม่รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็น @เชิงอรรถ : @ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐, @สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุเจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือ บริวารของชีวิต @ดุจกำแพงล้อมพระนครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น @สัมภาระของชีวิตคอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗, @ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) เป็นเครื่องป้องกันโรคบำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนาเนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป @(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) @ อุทเทส หมายถึงการเรียนพระพุทธพจน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓) @ ปริปุจฉา หมายถึงการสอบถามเหตุผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๔. ธัมมัญญูสูตร

กาลแห่งอุทเทศ นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ เราไม่เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทศ นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ ฉะนั้น เราจึง เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นปริสัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท นี้พราหมณบริษัท นี้ คหบดีบริษัท นี้สมณบริษัท ในบริษัทนั้นเราควรเข้าไปหาอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้ ควรทำอย่างนี้ ควรนั่งอย่างนี้ ควรกล่าวอย่างนี้ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ หากภิกษุ ไม่รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ เราไม่เรียกเธอว่าเป็น ปริสัญญู ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่ง อย่างนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง ต้องการเห็นพระอริยะ อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลพวกที่ไม่ต้องการ เห็นพระอริยะ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการเห็นพระอริยะ ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลผู้ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการฟังสัทธรรม อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลพวกที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วย เหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลผู้ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเงี่ยโสตฟังธรรม อีกพวก หนึ่งไม่เงี่ยโสตฟังธรรม บุคคลพวกที่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๕. ปาริฉัตตกสูตร

บุคคลเงี่ยโสตฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ อีกพวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ ก็ถูก ติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ ก็ได้รับการสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ อีกพวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลพวก ที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคล พวกที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อีกพวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น อีกพวกหนึ่งปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลพวกที่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ พวกที่ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคล ๒ ฝ่ายด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ฯลฯ๑- เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธัมมัญญูสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=23&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=23&A=2385&Z=2459                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=65              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=65&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4537              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=65&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4537                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.064.than.html https://suttacentral.net/an7.68/en/sujato https://suttacentral.net/an7.68/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :