ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๗. นิพพานธาตุสูตร

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๑- บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภว- สังโยชน์แล้ว๒- หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุ นั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสส- นิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภว- สังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้ นั่นแลของภิกษุนั้น อันตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้ต่อไปแล้ว จักระงับดับสนิท ภิกษุทั้งหลาย สภาวะดังกล่าวนี้ เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ตถาคตผู้มีพระจักษุ๓- ไม่ทรงอิงอาศัยสิ่งใดๆ ผู้คงที่ ทรงประกาศนิพพานธาตุไว้ ๒ ประการนี้ คือ @เชิงอรรถ : @ ปลงภาระได้แล้ว หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ (ขุ.อิติ.อ. ๔๔/๑๘๙) @ สิ้นภวสังโยชน์ หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (ขุ.อิติ.อ. ๔๔/๑๘๙) @ หมายถึงจักษุ ๕ ประการ คือ (๑) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๒) มังสจักษุ (ตาเนื้อ) (๓) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) @(๔) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔, ขุ.อิติ.อ. ๔๔/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๘. ปฏิสัลลานสูตร

นิพพานธาตุประการหนึ่ง เป็นสภาวะมีให้เห็นในอัตภาพนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาที่นำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุอีกประการหนึ่ง เป็นสภาวะมีในภายภาคหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายได้โดยสิ้นเชิง ชนทั้งหลายผู้รู้ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนี้แล้ว มีจิตหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ๑- ยินดียิ่งในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เพราะบรรลุธรรมเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพทั้งปวงได้ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
นิพพานธาตุสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น
[๔๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการ หลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง๒- เถิด @เชิงอรรถ : @ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ(ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙) @ เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงการเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ @ตลอดวันและคืน เจริญอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗, ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙, @ขุ.อิติ.อ. ๔๕/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๙๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๙๒-๓๙๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=159              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=5242&Z=5274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=222              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=222&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=4149              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=222&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=4149                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.2.028-049.than.html#iti-044 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.2.042-049x.irel.html#iti-044 https://suttacentral.net/iti44/en/ireland https://suttacentral.net/iti44/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :