ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๑. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระพุทโธวาทที่ตรัสโปรดพระราหุล
[๓๓๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระราหุลดังนี้) เพราะความสนิทสนมกันเกินไป เธอนึกดูหมิ่นบัณฑิต๑- บ้างหรือไม่ การชูคบเพลิงแก่มวลมนุษย์๒- เธอยังใส่ใจนอบน้อมอยู่หรือไม่ [๓๓๙] (ท่านพระราหุลทูลตอบดังนี้) ถึงจะมีความสนิทสนมกันมากสักเพียงใด ข้าพระองค์ก็ไม่เคยนึกดูหมิ่นบัณฑิตเลย การชูคบเพลิงแก่มวลมนุษย์ ข้าพระองค์ก็ยังใส่ใจนอบน้อมอยู่เสมอ [๓๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสโอวาทดังนี้) เธอละกามคุณ ๕ ซึ่งน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจแล้ว ออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา จงทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด๓- @เชิงอรรถ : @ บัณฑิต ในที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาพระสารีบุตร (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๘/๑๕๗) @ การชูคบเพลิง ในที่นี้หมายถึงการแสดงธรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๘/๑๕๗) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๙๕/๓๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๑๑. ราหุลสูตร

[๓๔๑] เธอจงคบกัลยาณมิตร ยินดีเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอึกทึกครึกโครม จงเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค [๓๔๒] เธอจงอย่าทำความอยากในปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชที่เกิดขึ้น เธออย่ากลับมายังโลกนี้อีกเลย [๓๔๓] เธอจงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์ และอินทรีย์ ๕ จงเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน จงเป็นผู้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏให้มาก [๓๔๔] จงเว้นสุภนิมิตอันเป็นเหตุให้เกิดราคะเสีย จงเจริญสมาธิจิตด้วยอสุภภาวนา จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง และตั้งมั่นด้วยดี๑- [๓๔๕] จงเจริญกัมมัฏฐานที่ไม่มีนิมิต จงละมานานุสัยกิเลส เพราะละมานะได้นั่นเอง เธอก็จะเป็นผู้สงบระงับ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุลด้วยคาถาเหล่านี้อยู่เนืองๆ ด้วยประการฉะนี้
ราหุลสูตรที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึงแน่วแน่ด้วยอุปจารสมาธิ ตั้งมั่นด้วยดี หมายถึงตั้งมั่นแนบแน่นด้วยอัปปนาสมาธิ @(ขุ.สุ.อ. ๒/๓๔๔/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗๘-๕๗๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=250              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=8111&Z=8134                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=328              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=328&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=3510              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=328&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=3510                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.11.irel.html https://suttacentral.net/snp2.11/en/mills https://suttacentral.net/snp2.11/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :