ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๓. สุภาสิตตสูตร

๓. สุภาสิตสูตร๑-
ว่าด้วยวาจาสุภาษิต ๔ ประการ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ เป็นสุภาษิต ไม่เป็น ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. กล่าววาจาสุภาษิตอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาทุพภาษิต ๒. กล่าววาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม ๓. กล่าววาจาเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาไม่เป็นที่รัก ๔. กล่าววาจาสัตย์จริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ ภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แล เป็นสุภาษิต ไม่เป็น ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน” พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๔๕๓] สัตบุรุษกล่าวว่าวาจาสุภาษิตเป็นวาจาสูงสุด (นั้นเป็นองค์ที่ ๑) บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม นั้นเป็นองค์ที่ ๒ บุคคลพึงกล่าววาจาเป็นที่รัก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๒๑๓/๓๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๓. สุภาสิตตสูตร

ไม่พึงกล่าววาจาไม่เป็นที่รัก นั้นเป็นองค์ที่ ๓ บุคคลพึงกล่าววาจาสัตย์ ไม่พึงกล่าววาจาเหลาะแหละ นั้นเป็นองค์ที่ ๔ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ยืนประนมมือไป ทางพระผู้มีพระภาคประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจพระภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจ พระภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วังคีสะ เธอจงเข้าใจภาษิตของเราอย่างแจ่มแจ้งเถิด” ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาอย่างเหมาะสม เฉพาะพระพักตร์ว่า [๔๕๔] บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุทำตนให้เดือดร้อน และไม่เบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นเป็นวาจาสุภาษิตแท้ [๔๕๕] บุคคลพึงกล่าวเฉพาะวาจาเป็นที่รัก เป็นที่ถูกใจผู้ฟัง พึงเว้นคำลามกทั้งหลายเสีย กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักแก่คนอื่น [๔๕๖] วาจาสัตย์เป็นวาจาไม่ตาย นี้เป็นของเก่า สัตบุรุษล้วนดำรงมั่นอยู่ในสัจจะทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม [๔๕๗] พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเป็นวาจาเกษม เพื่อการบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ วาจานั้นแลเป็นวาจายอดเยี่ยมกว่าวาจาทั้งหลาย
สุภาสิตสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๐๒-๖๐๓. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=256              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=8499&Z=8534                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=356              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=356&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=4860              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=356&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=4860                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i354-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.3.03.than.html https://suttacentral.net/snp3.3/en/mills https://suttacentral.net/snp3.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :